นาทีระทึกหนุ่มตะโกนเตือนสึนามิ ชาวบ้านเกาะกลุ่มริมหาด กวาดซัดทุกสิ่งในพริบตา(คลิป)
มีพลังสร้างความเสียหายอย่างหนักและยังคงมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย และ เกิดสึนามิขึ้น โดยล่าสุด มีการเผยแพร่คลิประทึก จากทวิตเตอร์ @BNONews โดยแสดงให้เห็นว่า ขณะที่กำลังจะเกิดสึนามิเข้าโจมตีชายฝั่ง ชายคนที่ถ่ายคลิปอยู่ได้พยายามตะโกนเตือนผู้คนที่อยู่ด้านล่างถนน ให้ขึ้นที่สูงเพื่อหลบสึนามิที่กำลังใกล้เข้าโจมตี โดยพบว่า ระหว่างที่สึนามิมาถึง ยังมีรถเก๋งที่ติดอยู่บนถนนอีกด้วย
อ่าวรูปกรวยอาจเป็นปัจจัยหนุนให้สึนามิรุนแรงขึ้น
ขณะที่เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดการภัยพิบัติแจ้งว่า ยอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอาจเพิ่มสูงขึ้นอีก เพราะยังไม่ได้สำรวจความเสียหายในเมืองดองกาลา ซึ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากกว่าเมืองปาลู เนื่องจากถนนหนทางถูกตัดขาด ระบบไฟฟ้าขัดข้องและมีปัญหาการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ ทางการ เบื้องต้นประเมินยอดผู้เสียชีวิตในสองเมืองรวมกันอาจถึงหลักพันศพ
นักวิทย์ไขปริศนา ทำไมสึนามิอินโดฯ สุดทรงพลัง ถล่มเมืองปาลูย่อยยับ (คลิป)
อ่าวรูปกรวยอาจเป็นปัจจัยหนุนให้สึนามิรุนแรงขึ้น
โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อ เหตุสึนามิซึ่งพัดถล่มเมืองปาลูของอินโดนีเซียเมื่อวันศุกร์ เกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่ไม่ใช่แค่แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ทำให้มันทรงพลังกว่าปกติ และสร้างความเสียหายอย่างหนัก…
เมื่อ 30 ก.ย.61 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาตั้งสมมติฐานเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมจึงเกิดคลื่นสึนามิรุนแรงพัดเข้าสู่เมืองปาลู ของอินโดนีเซีย หลังเกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.5 ใกล้เกาะสุลาเวสีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จนล่าสุดทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 832 ราย
เนชันแนล จีโอกราฟิก ระบุว่า แผ่นดินไหวระดับ 7.5 ลูกนี้ ดูเหมือนจะเกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนตัวบดกันในแนวนอน แต่ตามปกติคลื่นสึนามิจะเกิดจากการแผ่นเปลือกโลกบดกันในแนวตั้ง
บาปติสต์ กอมเบิร์ต นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดบอกกับ เนชันแนล จีโอกราฟิก ว่า “นี่เป็นเรื่องน่าประหลาดใจจริงๆ” แต่เขาย้ำว่าสภาพทางธรณีวิทยาของอินโดนีเซียมีความซับซ้อนสูงมาก สึนามิลูกนี้อาจเกิดจากความเคลื่อนไหวแนวตั้งที่เกิดขึ้นบ้างบริเวณรอยเลื่อนตอนเกิดแผ่นดินไหว แต่มันก็ไม่น่าจะทำให้เกิดคลื่นสูงถึง 18 ฟุต จึงเป็นไปได้ว่า มีดินถล่มบริเวณชายฝั่งหรือใต้น้ำ หนุนให้คลื่นสูงกว่าที่ควรจะเป็น
และนาง จาไนน์ คริปเนอร์ นักภูเขาไฟวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอนคอร์ด กล่าวว่า ลักษณะของอ่าวเมืองปาลีก็เป็นปัญหาเช่นกัน โดยเมืองปาลูตั้งอยู่ภายในอ่าวแคบๆ ที่มีรูปร่างเหมือนกับกรวย ซึ่งอาจช่วยรวมศูนย์พลังทำลายของคลื่น “มันสามารถเพิ่มความสูงของคลื่นขณะที่คลื่นเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ที่เล็กกว่า”
อย่างไรก็ดี เหล่าผู้เชี่ยวชาญต่างย้ำว่า ตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนมากเกินไปที่จะสรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย