สุดเจ๋ง !นักวิจัย มจธ. สร้างหุ่นยนต์ต้นแบบทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ #หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย”#ข่าวทั่วไทย-ไกลทั่วโลก#

ผลิตหุ่นยนต์ต้นแบบที่มีลักษณะเป็น Modular Robot ที่สามารถปรับเปลี่ยนความยาวตามลักษณะของแผงต่างๆ (ในช่วง 1 - 4 เมตร)

0
785
หุ่นยนต์ต้นแบบทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์
หุ่นยนต์ต้นแบบทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์

 

#หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย”#ข่าวทั่วไทย-ไกลทั่วโลก#
หนังสือพิมพ์รายวัน"ข่าวประเทศไทย"
เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชนผดุงความธรรมในสังคม
  #เปิดอ่านทาง WEBSITE:
HTTPS://WWW.THAILANDWORLDNEWS.COM
หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย#
#นายสิทธิชัย ไชยกิจ (ชัย บางสะแก)เจ้าของ-บรรณาธิการ #
#ติดต่อกองบรรณาธิการ ##ประสงค์ ส่งข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
ร้องขอความเป็นธรรม”เครือข่ายบุติธรรม”
ส่งที่อีเมล : THAILANDWORLDNEWS@GMAIL.COM
เครือข่ายยุติธรรม เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
*******************************************

ข่าว/ภาพ โดยแอดมินwebsite:

สุดเจ๋ง !นักวิจัย มจธ.
สร้างหุ่นยนต์ต้นแบบทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์
ต้นทุนต่ำ คืนทุนเร็ว

 “อาจารย์เอกชัย เป็งวัง” หัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรสำหรับทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

นำทีมคณะกรรมการอำนวยการโครงการร่วมฯ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทุนร่วมกับทีมงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าเยี่ยมชมการสาธิตและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเครื่องจักรทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ มจธ. และ ลงพื้นที่จริงที่โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Sunny Bangchak) ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จ.พระนครศรีอยุธยาบรรยายภาพ (4 ภาพ)
ทีมคณะกรรมการอำนวยการโครงการ สกสว. ร่วมกับ ทีมประสานงาน กฟผ. เข้าเยี่ยมชมการสาธิตหุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Sunny Bangchak) ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อาจารย์เอกชัย เป็งวัง เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบัน โครงการ “การพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรสำหรับทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์” ได้ผลิตหุ่นยนต์ต้นแบบที่มีลักษณะเป็น Modular Robot ที่สามารถปรับเปลี่ยนความยาวตามลักษณะของแผงต่างๆ (ในช่วง 1 – 4 เมตร) ทำความสะอาดร่วมระหว่างการฉีดน้ำและการขัดด้วยแปรงที่สามารถปรับแรงกดได้ นอกจากนี้หุ่นยนต์มีน้ำหนักเบา ขนย้ายได้ด้วยคน 2 คน โดยต้นทุนของหุ่นยนต์นี้อยู่ที่ราคา 70,000 – 100,000 บาท สำหรับโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์ฟาร์มที่มีขนาด 1 เมกะวัตต์ จะสามารถคืนเงินทุนได้ภายใน 6 เดือน แต่หากฟาร์มที่มีขนาดใหญ่กว่านี้จะสามารถคืนทุนได้เร็วขึ้นอีก ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับประเทศไทยที่นอกจากจะได้นวัตกรรมใหม่แล้ว ยังเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย

ข่าว/ภาพ โดย แอดมินwebsite:

 

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.