ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ธนบัตรในหลวง ร.10 เริ่มวันจักรี6เม.ย.นี้ประเดิมชนิดราคา20บ. 50 บ.และ 100 บ.ส่วนราคา 500 บ., 1,000 บ.ประกาศใช้ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา28ก.ค.
คนไทยเตรียมได้ใช้
ายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงการออกธนบัตรใหม่ว่า ธแบ็งค์4ปท.ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตรแบบใหม่ (แบบที่ 17) ภายใต้แนวคิดเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจบำบัดทุกข์บำรุงสุข นำความร่มเย็นมาสู่อาณาประชาราษฎร์ สร้างความเป็นปึกแผ่นและความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชาติบ้านเมืองตลอด 236 ปีที่ผ่านมา
“ธนบัตรใหม่นี้มีทุกชนิดราคา ได้แก่ 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท เพื่อใช้หมุนเวียนทั่วไป โดยได้รับพระราชทานให้ออกใช้ธนบัตรชุดแรกชนิดราคา 20, 50 และ 100 บาท ในวันจักรี 6 เมษายน 2561 ประชาชนสามารถเบิกถอนตามช่องทางปกติ ขณะที่ชนิดราคา 500 และ 1,000 บาท จะออกใช้ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม 2561” นายวิรไท กล่าว ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ด้านหน้าของธนบัตร ได้รับพระราชทานพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศของกองทัพอากาศ เป็นภาพประธานในธนบัตรทุกชนิดราคา ด้านหลังธนบัตรแต่ละชนิดราคา เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ เรียงตามลำดับรัชกาล โดยมีภาพประกอบเป็นภาพหนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญของแต่ละพระองค์ที่มีความโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ และจารึกอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ถือเป็นธนบัตรแบบแรกที่มีการเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระมหากษัตริย์ไทยทุกรัชกาลมาเป็นภาพประธานบนธนบัตร “สำหรับธนบัตรแบบ 17 นี้ มีขนาดและโทนสีเช่นเดียวกับธนบัตรแบบ 16 ส่วนลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง ยังคงลักษณะสำคัญของธนบัตรไทยไว้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ได้ปรับปรุงใหม่ในบางส่วนให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้ แถบสีโลหะ ปรากฏที่ด้านหน้าของธนบัตร และในชนิดราคา 100 บาท ภายในแถบสีมีการเคลื่อนไหว หมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิกปรับวางตามแนวตั้ง” นายวิรไท กล่าว นายวิรไท กล่าวอีกว่า ธปท.ไม่มีนโยบายยกเลิกธนบัตรแบบเดิม ยังสามารถใช้ควบคู่ไปกับธนบัตรแบบใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ธนบัตรแบบ 16 ยังมีอยู่ในสต็อกของธปท.ที่พร้อมจะนำออกมาใช้หมุนเวียน ส่วนธนบัตรใหม่ที่จะพิมพ์เพิ่มในระยะต่อไปเป็นแบบ 17 เป็นหลัก ซึ่งอายุการใช้งานเฉลี่ยของธนบัตรจะอยู่ที่ราว 3 ปี กรณีที่มีการชำรุดก็จะนำมาเข้าสู่กระบวนการทำลายต่อไป ปัจจุบันมีธนบัตรหมุนเวียนในระบบ 1.6 ล้านล้านบาท หรือกว่า 5.5 พันล้านฉบับ
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเบิกถอนธนบัตรแบบใหม่นี้ได้ตามช่องทางปกติ ผ่านธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง รวมถึงธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยธนบัตรทุกแบบที่ออกใช้ก่อนหน้านี้ยังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย