ธ.ก.ส.ให้สินเชื่อเกษตรกรสู้วิกฤติภัยแล้ง ชุมชนละไม่เกิน 3 ล้านบาท

0
1399

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า โครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ในการผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐานคุณภาพที่มีตลาดรองรับ สนับสนุนเงินทุนแก่ชุมชนในการจ้างผลิตเพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตและให้เกิดการบริหารจัดการภายในชุมชน เป็นต้นแบบในการขยายผลสู่การปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรและพัฒนาสู่การจัดตั้งกองทุนเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล เพื่อรองรับปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบวิกฤติภัยแล้งที่ส่งผลต่อการผลิตและรายได้ของเกษตรกร

โดยดำเนินการในลักษณะเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) ระหว่างชุมชนกับผู้รับซื้อผลผลิต เพื่อที่เกษตรกรจะไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการผลิตและการตลาด โดยยึดหลักการดำเนินการในรูปแบบของการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐและประชาชนภายใต้กรอบแนวคิด “ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนเข้มแข็ง” ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ลดความ เสี่ยงจากการผลิตพืชเชิงเดี่ยวของเกษตรกร

“เบื้องต้นได้กำหนดประเภทผลผลิตไว้ 6 ชนิด ได้แก่พืชตระกูลถั่ว (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง) ผักคะน้า กวางตุ้ง เห็ดฟาง เมล่อนและหญ้าเนเปียร์ แต่สำหรับผลผลิตอื่น ๆ หากชุมชนจะดำเนินการจะต้องมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน โครงการดังกล่าวนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.พง 59 ที่ผ่านมา – 31 ธ.ค. 61 จำนวนวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาทต่อชุมชน คิดดอกเบี้ยจากชุมชนในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างแทนชุมชน กำหนดชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 12 เดือนนับแต่วันกู้ วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท โดยให้แต่งตั้งพนักงานประจำสำนักงาน ธ.ก.ส.ทุกจังหวัดและสาขา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ทำหน้าที่ดูแล ติดตาม และกำกับการดำเนินงานโครงการในแต่ละชุมชนอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะมีรายได้ = (X+Y+Z) โดยที่ X คือรายได้จากค่าเช่าที่ดินเพื่อการผลิต Y คือรายได้จากค่าจ้างแรงงานการผลิต และ Z คือเงินปันส่วนให้แก่สมาชิกตามโครงการหลังจากหักค่าใช้จ่ายของชุมชน” ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าว

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.