กรมวิทย์ยันไร้ผลวิจัยยืนยัน “อะลูมิเนียมก่อโรคอัลไซเมอร์” วอนอย่าตื่นตระหนก

0
796
ก ก 

“นพ.สุขุม กาญจนพิมาย” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากข่าวเผยแพร่ทางโลกโซเชียลเรื่องการใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ ปิ้งย่างอาหาร มีอันตรายมาก เพราะอะลูมิเนียมเมื่อโดนความร้อนจะละลายเข้ากับอาหาร ทำให้แคลเซียมถูกทำลายไป จากนั้นความจำจะลดลงและสมองเสื่อม เป็นสาเหตุของอัลไซเมอร์ และเป็นการทำลายกระดูกโดยตรงนั้น

**”กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอเตือนประชาชนว่าอย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับข่าวดังกล่าว เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ที่แน่ชัดได้ มีเพียงปัจจัยที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ อายุ พันธุกรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

คิดให้ดีก่อนทำอาหารด้วยอลูมิเนียมฟอยล์-FB

**นอกจากนี้ยังไม่มีผลงานวิจัยที่พิสูจน์ แน่ชัดว่าอะลูมิเนียมทำให้เกิดโรคนี้จริงโดยทางองค์การระหว่างประเทศทั้ง WHOและ European food safety authority (EFSA) รายงานว่า อะลูมิเนียมเป็นสารพิษต่อระบบประสาท ในผู้ป่วยโรคไตมีความเป็นไปได้ที่อาจจะทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) หรือโรคเกี่ยวกับระบบประสาท และ EFSA ไม่คิดว่าการได้รับอะลูมิเนียมจากอาหารจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้”

**นพ.สุขุม กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้มอบหมายให้สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ทำการตรวจวิเคราะห์การละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะที่ทำด้วยโลหะอะลูมิเนียมมีภาชนะหุงต้ม จำนวน 22 ตัวอย่าง และแผ่นเปลวอะลูมิเนียม 6 ตัวอย่าง โดยทำการทดสอบที่สภาวะสุดโต่งด้วยสารละลายกรดอะซิติกความเข้มข้นร้อยละ 4 และร้อยละ 3 ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ น้ำเดือด (100 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่ามีการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะหุงต้ม 20 ตัวอย่าง (ร้อยละ 90) ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 11-953 มิลลิกรัม/ลิตร

2016-New-Hot-Sale-Outdoor-Aluminum-Foil-Beach-Picnic-Grass-Blanket-Camping-Cushion-Sleeping-Mat372-2031-thickbox

**และพบการละลายออกมาจากแผ่นเปลวอะลูมิเนียมทั้ง 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100) ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 483.6-1032 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วนการทดสอบถาดหลุมที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง มีการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากถาดหลุมทั้ง 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100) ปริมาณที่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งพบอยู่ในช่วง 0.5-14.1 มิลลิกรัม/ลิตร และได้ศึกษาการละลายออกมาของอะลูมิเนียมลงสู่อาหาร 4 อย่าง คือ ข้าวสุก ผัดผัก ต้มยำ และยำวุ้นเส้น ที่ใส่ในถาดหลุมไว้เป็นเวลา 30 นาที

ประโยชน์ของฟอยล์-ทำความสะอาดตะแกรง

**เพื่อเลียนแบบการรับประทานอาหารโดยใช้ถาดหลุม พบว่าการละลายออกมาของอะลูมิเนียมมีน้อยมากอยู่ในช่วง 0.047-0.928 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อาหารปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะบรรจุอาหาร และยังไม่มีข้อกำหนดปริมาณอะลูมิเนียมที่มีในอาหาร นอกจากนี้ การดูดซึมของอะลูมิเนียมจากอาหารเข้าสู่ร่างกายเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น

**”แผ่นเปลวอะลูมิเนียม หรืออะลูมิเนียม ฟอยล์ ที่ใช้เพื่อบรรจุอาหารหรือหุ้มห่ออาหารมี 3 ลักษณะ คือ แผ่นเปลวอะลูมิเนียมธรรมดา แผ่นเปลวอะลูมิเนียมที่มีการเคลือบด้วยสาร และแผ่นเปลวอะลูมิเนียมที่มีการเคลือบหรือประกบกับกระดาษหรือฟิล์มพลาสติก โดยสหภาพยุโรป (EU) และประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้โลหะอะลูมิเนียมเป็นภาชนะบรรจุ หุ้มห่อ และสัมผัสอาหารได้ ผู้บริโภคก็สามารถใช้ได้ตามคำแนะนำที่กำหนดไว้” อธิบดีกรมวิทย์กล่าว

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.