แนะชาวสวนยาง เลื่อนกรีดยางไปมิ.ย. หวังราคาปรับขึ้น

0
849

นายวิสุทธิ์ นิติยารมย์ อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและอดีตผอ.ศูนย์ประสานงานเกษตรภาคใต้ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านยางพาราให้สัมภาษณ์ ถึงสถานการณ์ยางพาราในปัจจุบันว่า ตนได้ติดตามราคายางพารามาอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าในช่วงปลายปีที่แล้ว ถึงปลายเดือนมกราคมปีนี้ ราคายางพาราตกต่ำสุดขีด เหลือไม่ถึง30 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากถูกกลุ่มพ่อค้า ทุบราคาโดยอ้างว่ายางล้นตลาด

แต่ปัจจบัน มีแนวโน้มว่า สถานการณ์ยางพาราจะดีขึ้นกว่าเดิม แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวก็ตาม สาเหตุมาจาก ปริมาณการใช้ยางของโลกไม่ได้ลดลงแต่ประการใด ที่สำคัญมีการคาดการว่าผลผลิตยางธรรมชาติ ในปี 2559 นี้ลดลงแน่นอนประมาณ 10-15 เปอร์เซ็น สาเหตุหลักมาจากอากาศแปรปรวน และร้อนมาก ไม่สามารถกรีดยางได้ โดยเฉพาะภาคใต้ของไทย ที่ผลผลิตยางมีถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของโลก ส่ วนภาคอื่นๆ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และอีสาน ก็ลดลงเช่นกัน รวมไปถึง ลาว เวียดนาม จีน แม้กระทั่งอินโดนีเซีย

ขณะเดียวกันในส่วนของประเทศไทย นั้น ที่ผ่านมา ราคายางพาราถูกทุบตลาดให้ตกต่ำโดยกลุ่มพ่อค้ายาง เกษตรกรชาวสวนยาง จึงโค่นไม้ยางพาราขาย แล้วหันไปปลูกพืนอื่นๆ ทดแทน นอกจากนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้ ม.44 จัดการโค่นสวนยางพาราที่รุกป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราหายไปจำนวนมาก

นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ประเด็นหลักที่อยากจะพูดถึงในตอนนี้ คือสต๊อกยางของโลก โดยรวมเหลือน้อยมาก ที่เคยจะใช้ได้ถึง 2-3 เดือน ก็อาจเหลือไม่ถึง 1 เดือน ทำให้ทำให้โรงงานต่างๆ ที่ต้องใช้ยางเป็นวัตถุดิบจำนวนมาก ต้องเร่งเข้าไปซื้อในตลาด

“เดิมทีพ่อค้า เขาเชื่อว่า ปริมาณยางมียางล้นตลาด คนในรัฐบาลบางคนก็ผสมโรงบอกว่ายางล้นตลาด เป็นการส่งสัญญาณที่ผิด แต่ข้อเท็จจริงผลผลิตยางพาราจากเกษตรกร ออกมาน้อยไม่ได้เป็นไปตามตามที่คาดคะเนกัน “นายวิสุทธิ์ ระบุ

และว่า ตลาดจีนต้องการยางแผ่นรมควัน ตลาดมาเลเซียต้องการน้ำยางสด สถานการณ์แบบนี้ จากปริมาณยางพาราที่ลดลง ส่งผลสหกรณ์ต่าง ๆ ต้องเร่งซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรเพื่อไปทำเป็นยางแผ่น เนื่องจากสามารถเก็บไว้เก็งราคาได้ และจะกระทบต่อมาเซียที่ต้องการน้ำยางสด ไปป้อนโรงงานแบบไม่อั้น จาก 2 ประเด็นนี้ จึงเป็นโอกาสทองของชาวสวนยางที่ราคายางจะพุ่งสูงขึ้น

นายวิสุทธิ์ ยังกล่าวถึง ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)คนใหม่ ว่า เป็นคนที่โชคดีเข้ามาในตำแหน่ง ในขณะที่ ราคายางพุ่งขึ้นโดยธรรมชาติ อยู่เฉยๆ ก็ขึ้นแล้ว

กระนั้นก็ตาม ผู้ว่าฯกยท.มีหน้าที่ต้องรักษาเสถียรภาพราคายาง ถ้าต้องการช่วยชาวสวนยาง ให้มีรายได้มากกว่าเดิม ก็ต้องทำให้ราคายางพุ่งขึ้นมากกว่านี้ โดยเสนอเรื่อง ไปยัง รมว.เกษตร เพื่อเสนอต่อไปยังนายกรัฐมนตรี ให้แก้ไขโครงการซื้อยางพาราจากเกษตรกรไปใช้ในกิจกรรมของรัฐ จากเดิมที่กิโลกรัมละ 45 บาท ไปเป็นที่กิโลกรัมละ 55-60 บาทให้ใกล้เคียงกับราคายางในปัจจุบัน เพราะจะเป็นการบังคับให้กลุ่มพ่อค้าต้องเข้าไปซื้อยางในตลาดให้สูงกว่าเดิม

“ราคายางจะขึ้นถึง 70 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่ผมได้คาดการณ์ ไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว กยท.หรือใครก็ตามที่ขายยางไปล่วงหน้าแล้ว อาจขาดทุน เพราะคาดการสถานการณ์ยางพาราผิดพลาด เดือดร้อนไปครบวงจร”อดีตที่ปรึกษานายกระบุ

ทั้งเสนอแนะไปยังเกษตรกรชาวสวนยางว่า ในตอนนี้เข้าฤดูกาลปิดกรีดแล้ว แต่ชาวสวนบางกลุ่มยังกรีดยางอยู่ เพราะเห็นว่าราคายางพาราขยับขึ้นมาแล้ว แต่ตนเห็นว่าการหยุดกรีดยางทันที แล้วเร่งปรับปรุงสวนยาง และเลื่อนการเปิดกรีดยางฤดูใหม่จากกลางเดือนพฤษภาคม ไปยังกลางเดือนมิถุนายน เป็นการชลอผลผลิตยางออกสูงตลาด จะส่งผลให้ราคายางปรับตัวไปมากกว่าเดิมโดยอัตโนมัต

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.