นักวิเคราะห์ จับตามอง ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ

0
897

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics ชี้การประกาศรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในคืนวันพฤหัส เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองมากที่สุดในสัปดาห์นี้
· ด้านค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าตามกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ต่อ ไปจนกว่าสหรัฐฯจะเริ่มกลับมา “ชัดเจน” เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
· ปัจจุบันตราสารหนี้ไทยให้ผลตอบแทน “ต่ำกว่า” ตราสารหนี้สหรัฐฯ แต่ด้วยค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าและเงินเฟ้อในประเทศที่ต่ำก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้บอนด์ไทยยังพอมีความน่าสนใจอยู่

ศูนย์วิเคราะห์ฯ มีความเห็นว่าการประกาศรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในคืนวันพฤหัส เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองมากที่สุด โดยในอาทิตย์นี้ จะมีทั้งการประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคการผลิตของสหรัฐฯ (ISM Non-Manufacturing) ประจำเดือนมีนาคมในคืนวันอังคาร โดยตลาดคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 54.0 ซึ่งสะท้อนว่าภาคบริการของสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ด้านรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีการเปิดเผยในวันพฤหัสนี้ เราคาดว่าเนื้อหาควรจะให้ข้อมูลกับตลาดมากขึ้น ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและตัวแปรที่สำคัญต่อการขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากก่อนหน้านี้ประธานเฟดหลายสาขาเริ่มออกมาสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นบ้างภายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากระดับ 35.2 THB/USD ในสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ระดับ 35.1 THB/USD ในช่วงสิ้นวันศุกร์ อย่างไรก็ตามเงินบาทกลับอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 35.2 THB/USD ตามเดิมหลังหลังตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ยังรายงานออกมาแข็งแกร่ง สำหรับสัปดาห์นี้ ผู้ค้าส่วนใหญ่จะจับตาไปที่รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีกำหนดจะเผยแพร่วันพฤหัสนี้

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าถ้ารายงานการประชุมไม่ได้ชี้ชัดถึงช่วงเวลาที่จะขึ้นดอกเบี้ย ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดจะยังเทขายดอลลาร์ออกมาก่อนเพื่อลดความเสี่ยง และยังมีโอกาสที่กระแสเงินทุนจะไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ต่อเนื่องไปจนกว่าสหรัฐฯจะเริ่มกลับมา “ชัดเจน” เรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง สำหรับสัปดาห์นี้เราคาดว่าค่าเงินดอลลาร์น่าจะยังมีแนวโน้มอ่อนค่าในช่วง 35.0-35.5 THB/USD ขณะที่ค่าเงินยูโรและเยนจะอยู่ในกรอบ 39-40 EUR/THB และ 30.9-31.8 THB/100JPY
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงจากระดับ 1.90% มาที่ระดับ 1.77% ในขณะที่บอนด์ยิลด์ไทยอายุ 10 ปีก็ปรับตัวลงหนักจากระดับ 1.81% ในสิ้นสัปดาห์ก่อนมาอยูที่ระดับ 1.59% ในสิ้นวันศุกร์ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อบอนด์ยิลด์ไทยคือเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่บอนด์ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างล้นหลาม และปริมาณความต้องการในประเทศที่หนาแน่น โดยในสัปดาห์นี้เราพบว่ามีเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดบอนด์ไทยถึง 4.1 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้โดยรวมมีเงินทุนไหลเข้าถึง 1.8 แสนล้านบาทแล้วตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยสรุป เรายังมองว่าสภาวะตลาดยังเอื้อต่อการถือบอนด์ และมองว่าปัจจัยที่จะต้องจับตามองคือราคาน้ำมัน ถ้าราคาน้ำมันไม่ปรับตัวลงแรง ตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ก็น่าจะยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนอยู่ ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันตราสารหนี้ไทยจะให้ผลตอบแทนต่ำกว่าตราสารหนี้สหรัฐฯ แต่ด้วยค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าและเงินเฟ้อในประเทศที่ต่ำก็ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้บอนด์ไทยยังพอมีความน่าสนใจอยู่ โดยเราคาดว่ายิลด์พันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10ปี จะอยู่ในช่วง 1.55-1.75% ในสัปดาห์นี้

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.