รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก หน่วยวิจัยธรณีวิศวกรรมแผ่นดินไหว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความเสี่ยงภัยเกิดแผ่นดินไหวนุนแรงขนาด 7.5 กับเขื่อนในประเทศไทย ว่า ประเทศไทย มีเขื่อนประมาณ 5,000 เขื่อน แบ่งเป็น เขื่อนขนาดเล็กกว่า 4,000 แห่ง เขื่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่อีกกว่า 200 แห่ง ซึ่งก่อนการก่อสร้างเขื่อนทุกครั้งจะสำรวจขุดเปิดฐานรากในช่วงกลางแม่น้ำของตัวเขื่อนว่ามีรอยเลื่อนมีพลังหรือไม่ และมีโครงสร้างที่รองรับการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 โดยทุกเขื่อนจะมีเครื่องมือแจ้งเตือนการเกิดแผ่นดินไหว กรณีทำให้เขื่อนพังเกิดได้ 3 รูปแบบ คือ น้ำล้นเขื่อนที่เกิดจากแรงกดของน้ำที่มากเกินไป เกิดจากน้ำซึมหรือมีรอยรั่ว และเกิดจากดินถล่ม ซึ่งจากสถิติของเขื่อนที่จะพังเกิดขึ้นในช่วง 1-5 ปี เพราะเป็นช่วงแรกของการรองรับน้ำจำนวนมากเมื่อผ่านไปถือว่าจะโครงสร้างเขื่อนมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญต้องบำรุงรักษาต่อเนื่อง ในส่วนเขื่อนขนาดใหญ่ที่พังจากแผ่นดินไหวมีเพียงเขื่อนเดียวในโลก คือ เขื่อนที่ประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดสึนามิเมื่อปี 2554 และเป็นเขื่อนที่สร้างมานานแล้ว
สำหรับเขื่อนในไทย โดยเฉพาะเขื่อนวชิราลงกรณ์และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ที่หลายคนกังวล พบว่า การก่อสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ ได้อัดทับด้วยหินและปูทับด้วยคอนกรีต ส่วนเขื่อนศรีนครินทร์ ได้บดอัดด้วยดินเหนียวครั้งละ 5 เซนติเมตร และทับถมครบ 100 เมตร รวมทั้ง ได้สำรวจและจำลองแรงสั่นสะเทือนขนาด 7 พบว่า เกิดการทรุดตัวในแนวดิ่งประมาณ 80 เซนติเมตร แต่โครงสร้างของเขื่อนก่อสร้างรองรับกรณีการทรุดตัวอยู่แล้ว หากแผ่นคอนกรีตแตกจะเกิดความเสียหายแค่น้ำไหลซึมออกจากเขื่อน แต่ไม่ทำให้เขื่อนแตกได้ขอให้ประชาชนสบายใจ แต่กังวลในส่วนของอาคารล้านเรือนประชาชนจะเสียหายจากแผ่นดินไหวได้ จึงขอให้อย่าสร้างในพื้นที่มีรอยเลื่อน