ซึ่งในค่ำคืนของวันแรกนั้น มีการทำพิธีเปิดโรงมโนราห์ บอกกล่าวบรรพบุรุษ ปู่ย่าตาทวดที่ล่วงลับไปแล้ว การขอขมาเจ้าที่เจ้าทาง และพิธีอัญเชิญบรรพบุรุษเชื้อสายมโนราห์ ทั้งปู่ย่า ตาทวด มาร่วมพิธีตามความเชื่อของลูกหลาน ก่อนที่จะมีการร้องรำ ขับบทกลอนมโนราห์ ทั้งภาษาไทย และภาษายาวี
ความเป็นมาของ “มโนราห์สองภาษา” นั้น สืบเนื่องจากบรรดาเหล่าลูกหลานที่มีเชื้อสายมโนราห์ ทั้งที่เป็นชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จำเป็นที่จะต้องประกอบพิธีมโนราห์โรงครู เพื่อรำลึกบรรพบุรุษผู้สืบทอดเชื้อสายต่อมายังลูกหลาน การประกอบเครื่องเซ่นไหว้ครูหมอมโนราห์ และการร้องรำ ขับกล่อมบทกลอน สุดท้ายก็จะเป็นพิธีเข้าทรง เพื่อให้การรักษาผู้ป่วย ตามความเชื่อ และความศรัทธา โดยที่ผ่านมา ก็จะมีผู้ที่สนใจ ซึ่งมีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และทางจิต เข้ารับการรักษาจนมีอาการดีขึ้น และต้องมาร่วมชุมนุมประกอบพิธีมโนราห์โรงครู ณ ที่นี่เป็นประจำในทุกปี |