2คดีเมาขับชนคนตายเหมือนกัน แต่การจับทำคดีต่างกัน ระหว่าง “บอส” กับ “เสี่ยรถเบ็นซ์” (ดูคลิป)
(เปิดคลิป……”สังคมเปรียบเทียบ คดีเมาขับรถชนคนตายเหมือนกัน แต่การทำคดีต่างกันราว”ฟ้ากับเหว”ระหว่าง “บอส อยู่วิทยา”กับ” เสี่ยรถเบ็นซ์ “)
“อัยการ”อ้างเหตุสั่งไม่ฟ้อง เพราะ#ตำรวจเป็นฝ่ายประมาท
“นายกฯ” ร้อนใจ สั่งเร่งตรวจสอบ
“อสส.”#ร้อน# สั่งตั้งคณะทำงาน 7 คน ตรวจสอบ!!
!แต่ที….คดี “เสี่ยเบนซ์” ขับชน แม้ชดใช้แล้ว 45 ล้าน “ศาลฯ”ตัดสินรอลงอาญา “อัยการ” ไม่ยอม ยื่นอุทธรณ์ค้านขอ”ศาลฯ”ไม่รอ#ให้เข้าคุก!!#สถานเดียว
=======
อัยการชี้เหตุสั่งไม่ฟ้อง คดี “บอส อยู่วิทยา” เพราะ”ตำรวจ”เป็นฝ่ายผิด….ประมาทเอง
จากกรณีที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่า นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาทั้งหมดในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อ เสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน ปี 2555 หลังจากพนักงานอัยการ มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้วนั้น
ล่าสุด ได้มีการเปิดสำนวน ความเห็นของ พนักงานอัยการ ที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในคดีดังกล่าว โดยชี้ว่า เหตุที่เกิดขึ้น มาจากความประมาท ของผู้ต้องหาที่ 2 ซึ่งหมายถึง “ดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ” ผู้เสียชีวิตในคดีนี้
ทำให้การกระทำของผู้ต้องที่ 1 คือ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และว่า ฝ่ายผู้ต้องหาที่ 2 ได้รับชดเชยค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจ และไม่ประสงค์ดำเนินคดีทั้งทางแพ่ง และอาญาอีกต่อไป
ช่องทางเดินรถ เข้าไปในช่องทางเดินรถที่ผู้ต้องหาที่ 1 ขับขี่มาด้วยความเร็วไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระยะกระชั้นชิด ทำให้ผู้ต้องหาที่ 1 ไม่สามารถหลบหลีกและหยุดรถได้ทันท่วงที
เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่เกิดจากความประมาท ปราศจากความระมัดระวังของผู้ต้องหาที่ 1 แต่เกิดจากความประมาท ปราศจากความระมัดระวังของผู้ต้องหาที่ 2 ที่เปลี่ยนช่องทางเดินทางรถในระยะกระชั้นชิด
การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29-3
คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 ในความผิดฐานนี้ และเป็นกรณีกลับความเห็น และค้าสั่งเดิมตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 6 วรรคท้าย 54
อนึ่งฝ่ายผู้ต้องหาที่ 2 (ผู้ตาย) ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายผู้ต้องหาที่ 1 จนเป็นที่พอใจ และไม่ประสงค์จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่ง และทางอาญากับผู้ต้องหาที่ 1 อีกต่อไปแล้ว
สั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา ผู้ต้องหาที่ 1 ฐานกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 293 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 กลับความเห็น และคำสั่งเดิม
กรณีสั่งไม่ฟ้อง เสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติพิจารณาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 1551
ลงชื่อ นายเนตร นาคสุข
อธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูง
รักษาการในตำแหน่ง รองอัยการสูงสุด
20 มกราคม 2563
===============
นายกฯ ไม่สบายใจคดีทายาทกระทิงแดง สั่งเร่งตรวจสอบ ลั่นไม่เคยแทรกแซง
นายกฯ ติดตามใกล้ชิดคดีทายาทกระทิงแดง รับไม่สบายใจ สั่งเร่งตรวจสอบ ยันไม่เคยแทรกแซงไม่มีผลประโยชน์ ขออย่าบิดเบือน
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี “ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์”
เปิดเผยว่า “นายกฯ” ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด กรณีที่สำนักงานอัยการสูงสุด มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีต่อ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ในทุกข้อกล่าวหา และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่แย้งคำสั่งของอัยการ
ด้วยความไม่สบายใจ และเห็นว่า ควรต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เกิดความชัดเจนเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยท่านนายกรัฐมนตรีรู้สึกเข้าใจดีถึงความรู้สึกของประชาชน พร้อมกับสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริงของคดีดังกล่าวตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ถึงขั้นตอนของอัยการว่าเป็นมาอย่างไร พร้อมทั้งรายงานโดยด่วน และยืนยันนายกรัฐมนตรีไม่เคยช่วยเหลือใคร ไม่เคยแทรกแซงการทำงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องหลักตามกระบวนการยุติธรรมในกรณีนี้ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี และพนักงานอัยการ โดยเฉพาะอัยการนั้น นายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นผู้แต่งตั้ง และมีอำนาจพิจารณาคดีได้อย่างอิสระตามขอบเขตของกฎหมาย ดังนั้น นายกรัฐมนตรีไม่สั่งการใครในคดีนี้ และทุกอย่างต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง และขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม หากใครทำผิดจะต้องถูกลงโทษทั้งสิ้น พร้อมทั้งเตือนขอให้อย่านำเรื่องนี้ไปบิดเบือนหรือเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ จนเกิดความเข้าใจผิดและสับสน
“อัยการสูงสุด”#ร้อน# สั่งตั้งคณะทำงาน 7 คน ตรวจสอบ!!
เปิดรายชื่อ 7 อรหันต์ ‘อัยการสูงสุด’ตั้งทีมสอบปมสั่งไม่ฟ้อง‘บอส อยู่วิทยา’
“สำนักงานอัยการสูงสุด” เผยแพร่เอกสารข่าว โดย “นายประยุทธ เพชรคุณ” อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 และรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด
ระบุว่า ตามที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่า พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นชอบแล้ว โดยข่าวดังกล่าว สื่อมวลชนได้นำเสนอเมื่อช่วงเช้าวันที่ 24 ก.ค. 2563 นั้นสำนักงานอัยการสูงสุดขอชี้แจงว่า เมื่อปรากฏข่าวดังกล่าว อัยการสูงสุด (อสส.)ซึ่งกำลังปฏิบัติราชการอยู่ในพื้นที่สำนักงานอัยการภาค 4 ในการประชุมสัมมนาข้าราชการฝ่ายอัยการในเขตพื้นที่ภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 23-26 ก.ค.2563 จึงทำการตรวจสอบและทราบว่า กรณีที่เป็นข่าว เป็นสำนวน ส.1 เลขรับที่ 107/2556 ของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้
เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าการสั่งสำนวนคดีดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และมีเหตุผลในการสั่งพิจารณาคดีอย่างไร จึงมีคำสั่งทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ พิเศษ/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดีดังกล่าว โดยมี นายสมศักดิ์ ติยะวานิช รองอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และคณะทำงานอื่น รวมทั้งสิ้น 7 คน
โดยให้คณะทำงานเร่งตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงโดยเร็ว และเมื่อมีผลคืบหน้าประการใด จะได้แจ้งให้บุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุดและประชาชนทราบโดยทั่วกัน
คณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดีดังกล่าว ทั้ง 7 คน ประกอบด้วย
1.นายสมศักดิ์ ติยะวานิช รองอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
2.นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา เป็นคณะทำงาน
3.นายชาติพงศ์ จีระพันธุ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร เป็นคณะทำงาน
4.นายปรเมศว์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญาธนบุรี เป็นคณะทำงาน
5.นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา เป็นคณะทำงาน
6.นายอิทธิพร แก้วทิพย์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
7.นายประยุทธ เพชรคุณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ ให้คณะทำงานมีอำนาจหน้าที่เรียกสำนวนมาตรวจสอบ รวมถึงสอบถามบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยให้ดำเนินการโดยด่วนที่สุด สั่ง ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2563
=============
“จักรทิพย์” ตั้งกก.สอบ ตำรวจทำสำนวน “บอสฯ”
กรณีมีความเคลือบแคลงสงสัยการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ ในการดำเนินคดี “บอส อยู่วิทยา” ล่าสุด ผบ.ตร.มีคำสั่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรมกับทุกฝ่าย แล้วรายงานผลภายใน 15 วัน
“พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ “รองโฆษก ตร.
เผยถึงกรณีตามที่ปรากฏข่าวสารทางสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ กรณีพนักงานอัยการ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา นายวรยุทธ หรืบบอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหา ส่งผลให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
จึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เกี่ยวกับการดำเนินการของข้าราชการตำรวจว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องหรือไม่
มอบให้ พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. เป็นประธาน พร้อมคณะกรรมการ รวม 10 นาย ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง พร้อมรายงานผลให้ทราบเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป.
สมาคมทนายความ ตั้งข้อสงสัย 8 ข้อ คำสั่งไม่ฟ้อง” บอสฯ “
โดยทาง..”สมาคมฯ” ได้ตั้งข้อสงสัย 8 ข้อ คำสั่งไม่ฟ้อง และเรียกร้องเปิดเผยรายละเอียดของคดีทั้งหมด
ขอเรียนว่า แม้อัยการจะมีอำนาจตามกฎหมายในการสั่งไม่ฟ้องในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้ามาโดยตลอด จึงอยากตั้งข้อสังเกตุที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมแห่งคดีและข้อพิรุธต่างๆเกี่ยวกับคดี ดังนี้
1.(ทำไมชนแล้วหนี) ภายหลังเกิดเหตุผู้ต้องหาได้ขับหนีทันทีโดยไม่ได้ลงมาช่วยเหลือหรือดูแลคนตายแต่อย่างใด ซึ่งหากความผิดเกิดจากการกระทำของคนตาย ก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะต้องขับหนีในทันที
2.(เมาแล้วขับ) ผู้ต้องหาอยู่ในอาการมึนเมาสุราเพราะมีข้อหาเมาแล้วขับ
3.(พยายามหนีความผิด) มีการพยายามเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาโดยให้”คนใช้”มาอ้างว่าเป็นคนขับแต่ไม่สำเร็จ
4. (คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน) สำนวนเดิมที่อัยการสั่งฟ้อง บนพื้นฐานของพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและพยานทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน เพียงพอในการฟ้องคดีต่อศาล
5. (คดีล่าช้า) การดำเนินการสอบสวนล่าช้า ประวิงคดี สังเกตุได้จาก ผู้ต้องหาขอเลื่อนนัดมากกว่า 5 ครั้ง อ้างว่าอยู่ต่างประเทศ แต่ตำรวจก็เพิกเฉยไม่ได้เร่งรัดติดตาม จนทำให้คดีขาดอายุความหลายข้อหา
6. (ที่มาของคำสั่งไม่ฟ้อง) กระบวนการช่วยเหลือและต่อสู้ในเรื่องการขอความเป็นธรรมให้ผู้ต้องหา จนนำไปสู่คำสั่งไม่ฟ้องของอัยการและตำรวจไม่คัดค้าน ทั้งๆที่ผู้ต้องหาได้หลบหนีตั้งแต่เหตุเกิดไม่ได้อยู่ในประเทศไทยถึง 8 ปี
7. ไม่มีการชี้แจงถึงเหตุผล และรายละเอียดในการสั่งไม่ฟ้องคดี โดยกล่าวอ้างลอยๆ ว่าหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสามารถหักล้างจากสำนวนเดิมที่อัยการสั่งฟ้องไว้แล้วแต่อย่างใด
8. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแต่อัยการไม่ได้แถลงข่าวในเรื่องนี้ให้สื่อมวลชนได้รับทราบ แต่การรับทราบข่าวเรื่องนี้เกิดจากสื่อมวลชนต่างประเทศนำมาเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563
จากข้อสังเกตุที่ตั้งไว้ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการจะเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของประชาชนในการใช้อำนาจตามกฎหมาย
ดังนั้นหากอัยการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะทำให้ประชาชนเชื่อว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่สุจริตทั้งสองหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงานอัยการสูงสุด จำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดของคดีทั้งหมดว่ามีพยานหลักฐานครบถ้วนในการสั่งไม่ฟ้องโดยสามารถหักล้างพยานหลักฐานในสำนวนเดิมที่อัยการมีคำสั่งฟ้องตั้งแต่เหตุเกิด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องชี้แจงเหตุผลว่าทำไมไม่คัดค้านคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการ
=========
“อัยการฯ” ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคดี “เสี่ยเบนซ์” ขับรถเมาชน “รอง ผกก.ตี๋” เสียชีวิต แม้ชดใช้ดูแลบุตรผู้ตายแล้ว 45 ล้าน
(เปิดคลิป……คดีเสี่ย เบ็นซ์)
อัยการยื่นอุทธรณ์คดี “เสี่ยเบนซ์” เมาชน “รอง ผกก.ตี๋” เสียชีวิต แม้ชดใช้ดูแลบุตรผู้ตายแล้ว 45 ล้าน
“เสี่ยเบนซ์” เมาชน “รอง ผกก.ตี๋” เสียชีวิต ขอให้ศาลไม่รอการลงโทษ แม้ชดใช้ครอบครัว-ดูแลบุตรผู้ตายแล้ว 45 ล้าน
จากกรณีศาลจังหวัดตลิ่งชันมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ ที่ 1839/2562 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญาธนบุรี 5 ยื่นฟ้องนายสมชาย เวโรจน์พิพัฒน์ อายุ 56 ปี เสี่ยเจ้าของธุรกิจผลิตและประกอบอะไหล่รถยนต์ เป็นจำเลยในฐานความผิดขับรถด้วยความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, ขับรถในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายสาหัสและทรัพย์สินเสียหาย, ขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส รวม 3 ข้อหา
เหตุการณ์นี้เกิดเหตุขึ้นเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 เวลาประมาณ 23.30 น. ตร.สน.ศาลาแดง ได้รับแจ้งว่ามีเหตุรถยนต์ชนกัน ที่ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวงและเขตทวีวัฒนา เมื่อได้ออกตรวจที่เกิดเหตุพบรถยนต์เบนซ์ ทะเบียน บฮ 789 กทม แต่ขณะนั้นไม่พบตัวคนขับเนื่องจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิได้นำตัวส่งโรงพยาบาลธนบุรี 2 เพราะได้รับบาดเจ็บ ส่วนที่เกิดเหตุพบ พ.ต.ท.จตุพร งามสุชวิชชากุล รอง ผกก.สอบสวน กก.2 บก.ป. เสียชีวิตอยู่ในรถยนต์ยี่ห้อซูซูกิ สวิฟท์ ทะเบียน 2 กก 3653 และทราบจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ว่ายังมีนางนงนาฏ งามสุวิชชากุล ภรรยา และบุตรสาวอายุ 12 ปีซึ่งนั่งโดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ ก็ได้นำตัวส่งไปยังโรงพยาบาลแล้ว แต่ต่อมานางนงนาฏเสียชีวิตที่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
ภายหลังทราบว่า นายสมชายได้ขับรถเบนซ์วิ่งมาจากถนนพุทธมณฑลสาย 3 จะไปทางถนนพุทธมณฑลสาย 2 เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุบริเวณถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก ได้ขับรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของ พ.ต.ท.จตุพร ที่วิ่งมาจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 กำลังมุ่งหน้าไปถนนพุทธมณฑลสาย 3 จึงได้พุ่งชนกันอย่างแรง เป็นเหตุให้รถยนต์ทั้ง 2 คันได้รับความเสียหาย และ พ.ต.ท.จตุพร เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และจากการสอบสวนทราบว่าคืนเกิดเหตุ นายสมชายได้ดื่มเบียร์มาจากสนามไดรฟ์กอล์ฟ แขวง-เขตทวีวัฒนา กระทั่งเวลาประมาณ 23.30 น.ได้ขับรถเบนซ์คันเกิดเหตุออกมาตามถนนทวีวัฒนา- กาญจนาภิเษก จนได้มาชนกับรถของผู้ตาย และเมื่อได้ทำการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ พบระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 260 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
จำเลยให้การสารภาพทั้งในชั้นสอบสวน และชั้นพิจารณาของศาล ศาลจึงมีคำสั่งให้มีการสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนมีคำพิพากษา โดยให้พนักงานคุมประพฤติรายงานผลการสืบเสาะนั้นให้ศาลทราบภายใน 15 วัน ระหว่างนั้น นายสมชายได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 200,000 บาท ขณะมี่นายสมชายผู้ก่อเหตุยินยอมเยียวยาชดใช้ค่าเสียหาย 45 ล้านบาท ให้แก่ครอบครัวของนายตำรวจผู้เสียชีวิตซึ่งปัจจุบันคงเหลือเพียงบุตรสาวคนโตและบุตรสาวคนเล็ก
โดย”ศาลฯ”มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2562 ประกอบคำรับสารภาพ รายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลย เกี่ยวกับประวัติการศึกษา อาชีพ ครอบครัวแล้ว มีคำพิพากษาเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2284/2562 ว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.291, 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ม.43 (2) (4), 67 วรรคหนึ่ง, 152, 157, 160 ตรี วรรคสาม วรรคสี่ อันการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานขับรถในขณะเมาสุราฯ มาตรา 43 (2) ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ม.160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นบทหนักสุด ให้จำคุก 6 ปี และปรับ 200,000 บาท โดยจำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 ปี พร้อมปรับ 100,000 บาท ซึ่งหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการกักขัง ตามแระมวลกฎหมายอาญา ม.29, 30 รวมทั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของนายสมชาย จำเลย และสั่งห้ามจำเลยดื่มสุรา-เบียร์ หรือเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิดด้วยส่วนโทษจำคุกจำเลยนั้น ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี และให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 8 ครั้ง ภายใน 2 ปี กับทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ มีกำหนด 48 ชั่วโมง ภายเวลา 1 ปีตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรกำหนด
แต่ !!!…..สำหรับคดีนี้
“พนักงานอัยการสำนักงานคดีศาลสูงธนบุรี” พิจารณาแล้วมีคำสั่งยื่นอุทธรณ์คดีขอให้ศาลไม่รอการลงโทษนายสมชายจำเลยต่อศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาต่อไป
=========
#หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย”#ข่าวทั่วไทย-ไกลทั่วโลก#
เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชน ผดุงความธรรมในสังคม
#เปิดอ่านทาง WEBSITE: https://www.thailandworldnews.com
หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย##นายสิทธิชัย ไชยกิจ (ชัย บางสะแก) เจ้าของ-บรรณาธิการ #
#ติดต่อกองบรรณาธิการ #……#ประสงค์ ส่งข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ร้องขอความเป็นธรรม”เครือข่ายบุติธรรม”
ส่งเรื่องต่างๆมาที่อีเมล : THAILANDWORLDNEWS@GMAIL.COM
เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
=======