รสนาเรียกร้อง สนช.-สปท.เว้นวรรค2ปีหากคำถามพ่วงประชามติผ่าน

0
837

เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2559 น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สนช.) และอดีต ส.ว.กทม. โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเรียกร้องให้สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เว้นวรรคทางการเมืองหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับ เพื่อแลกกับการลงมติด้วยเสียงเอกฉันท์ให้มีคำถามประกอบประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้สิทธิส.ว.สรรหาชุดแรกร่วมลงมติเห็นชอบบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ เพื่อสร้างมาตรฐานการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และให้เจตนารมณ์ของร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ให้ชื่อว่าเป็นฉบับปราบโกงเป็นตามเป้าหมาย ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ไม่ใช่ให้เป็นเพียงการบัญญัติไว้เป็นประเพณีของการรัฐธรรมนูญเท่านั้น

“หากคำถามพ่วงของสปท.และสนช.ผ่านประชามติ ต้องนำไปแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ. ย่อมถือได้ว่าท่านสมาชิกทั้งสองสภาได้ทำหน้าที่ดุจเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และได้แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของส.ว. ที่ไม่มีอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญเดิม ท่านสมาชิกทั้งสองสภาย่อมเข้าข่ายเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่อาจถูกครหาได้ว่าจงใจชงคำถามนี้ให้เข้าตากรรมการคสช.เพื่อแลกกับการที่จะได้รับเลือกเข้ามาเป็นส.ว.อีกตามบทเฉพาะกาลหรือไม่ เพื่อป้องกันคำครหาและเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญได้แสดงเจตนาว่าต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญปราบโกงและขจัดการมีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ดิฉันขอเสนอว่าหากทั้งสองสภาตกลงใจจะให้มีคำถามพ่วงนี้ขึ้นมา ก็ขอให้เพิ่มเงื่อนไขว่า หากคำถามดังกล่าวผ่านประชามติ และต้องนำไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ ทั้งสปท.และสนช.จะต้องเว้นวรรคการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปีเช่นเดียวกับกรธ.โดยขอเสนอให้เพิ่มเติมในมาตรา 267 ของร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุห้าม สนช. และ สปท. ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งของแต่ละสภาด้วย” น.ส.รสนา กล่าว

น.ส.รสนา ระบุด้วยว่าตนมองว่าคำถามประกอบประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของสปท.และสนช. เพราะกรณีที่มีเงื่อนไขให้สภาผู้เสนอคำถามประกอบการออกเสียงประชามติต้องเว้นวรรคการดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นเดียวกับ กรธ. เพื่อเป็นทางออกให้ทั้งสองสภาไม่ตกอยู่ภายใต้คำครหาเดียวกับบรรดานักการเมืองที่ถูกตำหนิมาแล้วว่าเป็นพวกนิยมชงเอง กินเองหรือผลัดกันเกาหลังให้กันและกัน ตนมองด้วยว่าในยุครัฐธรรมนูญปราบโกงจึงต้องเข้มงวดในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างจริงจังไม่ใช่แค่สร้างเป็นวาทกรรมลอยๆ

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.