#ธนาคาร/บสย.# ช่วยประชาชนคนไทย ได้จริงหรือ !!!!! หรือแค่ภาพลวงตา หรือความจริง คนไทยหนี้ท่วมหรือไม่? หรือ ? อีกทั้งเพิ่มภาระดอกเบี้ย และเวลาเพิ่มมากขึ้น  #หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย”#ข่าวทั่วไทย-ไกลทั่วโลก#

ธนาคารประเมินอนุมัติเงินกู้ในวงเงินที่ต่ำลงกว่าปกติถึง50% แล้วให้คนกู้ ธนาคารต้องมาขอกู้เปิดวงเงินกับ ทาง บสย. โดยใช้คำที่ดูสวยหรู คือ"ค้ำประกันเงินกู้" ผ

0
1094

 ธนาคาร/บสย. ช่วยประชาชนคนไทย ได้จริงหรือ !!!!!

หรือแค่ภาพลวงตา หรือความจริง

คนไทยหนี้ท่วมหรือไม่? หรือ ? 

อีกทั้งเป็นผลักภาระให้”ผู้กู้”ที่ต้องเสียเงินและเวลา เพิ่มมากขึ้น

ด้วยระบบเงินกู้ธนาคารหรือสถาบันการเงินทั้ง ของรัฐฯและเอกชน รุมทึ้งดอกเบี้ย คนกู้อ่วม ธุระกิจไปไม่รอดถูกฟ้องยึดทรัพย์ขายทอดตลาด แถมกฎหมายประหลาดมีที่ประเทศไทย ธนาคารยึดทรัพย์ขายทอดตลาดแล้วขายทรัพย์ไม่พอหนี้ ยังเป็นหนี้ค้างกันชั่วชีวิตคนกู้-สู่ลูกหลาน สามารถติดตามยึดหนี้ที่ค้างได้จนครบ ที่ประเทศอื่น กฎหมายธนาคารเขาเอาแค่ทรัพย์ที่ค้ำประกันเงินกู้ ขายได้เท่าไหร่ ก็ถือว่าจบหมดครบหนี้นั้นๆๆ เท่านั้น   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเงิน" ธนาคาร/บสย. ช่วยประชาชนคนไทย ได้จริงหรือ !!!!!

หรือแค่ภาพลวงตา หรือความจริง

คนไทยหนี้ท่วมหรือไม่? หรือ ? 

กลับกลาย เป็นช่องทาง ช่องโหว่

         โดยให้ ธนาคารประเมินอนุมัติเงินกู้ในวงเงินที่ต่ำลงกว่าปกติถึง50% แล้วให้คนกู้ ธนาคารต้องมาขอกู้เปิดวงเงินกับ ทาง บสย. โดยใช้คำที่ดูสวยหรู คือ”ค้ำประกันเงินกู้” ผลคือเพิ่มภาระให้ผู้กู้ ต้องเสีย ค่าดำเนินการ พร้อมเสียดอกเบี้ยเพิ่มเป็น กับทางธนาคารและ สถาบันการเงิน ของรัฐฯ ที่เรียกกันว่า “บสย.”

      ต่อไปนี้การปล่อยเงินกู้ของธนาคารกำลังเป็นระเบียบปฏิบัติไม่วาของรัฐหรือเอกชน แทนที่ จะกู้โดยตรงกับทางธนาคารแห่งเดียวจบ

      ต้องมาให้ “บสย.ค้ำประกันเงินกู้”ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลายเส้นธนาคาร"

      เท่ากับธนาคารไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องรับผิดชอบอัตราเสี่ยงใดๆ เลบ ปล่อยกู้แล้วให้ บสย.ค้ำประกันเงินกู้ มารับผิดชอบแทน แบ่งเค็กกันกินดอก นโยบายให้ บสย.ค้ำประกันเงินกู้ คือผลดี หรือผลร้ายต่อประชาชนที่ต้องกู้เงินแบ็งค์ และธนาคารอย่างเช่น ของรัฐฯ อย่างเช่น 

     “ธนาคารออมสิน” ที่ตั้งธนาคารมาชื่อก็บอกแล้วว่าออมสิน เป็นธนาคารที่เปิดขึ้นมาเพื่อให้เกิดการออมทรัพย์ แม้แต่เงินเด็กนักเรียนในอดีต ก็ให้เด็กรู้จักคำว่า ออมสินคือออมทรัพย์  ดังคพ พังเพยในอดีตของ ธนาคารออมสิน ในคำว่า “มีสลึง พึงบรรจบให้ครบบาท”ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลายเส้นธนาคาร"

       แต่ปัจจุบันธนาคารออมสินหันมาทำธุระกิจธนาคารพาณิชย์เกินตัวกับโครงสร้างเดิม ปล่อยกู้เชิงพาณิชย์ มีการฟ้อร้องผู้ที่กู้ที่ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดมากมาย ซึ่งผิดวัตถุประสงค์เดิมของการตั้งธนาคารออมสินโดยสิ้นเชิง ซึ่งสมตวรใหมที่ ธนาคารออมสิน ที่ต้องออมสิน แต่กลับสุรุ่ยสุร่ายปล่อยกู้เชิงพาณชย์  โดยทำให้ประชาชนเดือดร้อน  พอระดมเงินก็ใช้อภิสืทะิ์ ในการออกสลากโน่นสลากนี่มาระดมทุน เอาเงินประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์มากกว่าในการเป็นธนาคารออมสิน เพื่อการออมทรัพย์

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บสย logo"

บสย. คือใคร ทำหน้าที่อย่างไรผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บสย logo"

บสย. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs (Small and Medium Enterprises) ที่ไม่มีหลักทรัพย์ หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่มีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท


บสย. ค้ำประกันธุรกิจทุกประเภทหรือไม่

บสย. ให้การค้ำประกันแก่ธุรกิจทุกประเภทที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี ครอบคลุมทั้งด้านการผลิต การค้าปลีก ค้าส่ง ธุรกิจนำเข้า ส่งออก และธุรกิจบริการ


บสย. ค้ำประกันสินเชื่อประเภทใดบ้างผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บสย logo"

บสย. สนับสนุนสินเชื่อสำหรับการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs เท่านั้น เช่น สินเชื่อเงินกู้ระยะยาว, สินเชื่อเบิกเงินเกินบัญชี (O/D), วงเงินตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N), วงเงินหนังสือค้ำประกัน (L/G, L/I), วงเงินสินเชื่อสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ (L/C, T/R, P/C) เป็นต้น โดยที่สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค, สินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเอนกประสงค์ บสย. ไม่สามารถให้การค้ำประกันได้


ลูกค้าที่จะมาใช้บริการ บสย. ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย (นิติบุคคลที่เป็นสัญชาติไทย คือ มีคนไทยถือหุ้นเกินกว่า 50%) / ประกอบธุรกิจโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี (ด้านการผลิต การค้าปลีก ค้าส่ง ธุรกิจนำเข้า ส่งออก และธุรกิจบริการ) / มีทรัพย์สินถาวรสุทธิ (ไม่รวมที่ดิน) ตามเกณฑ์ที่ บสย. กำหนดในแต่ละประเภทการค้ำประกันสินเชื่อ


บสย. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันอย่างไร

บสย.เก็บค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อจากผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งอัตราการเรียกเก็บขึ้นอยู่กับประเภทการค้ำประกันสินเชื่อ โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงหน้าเป็นรายปี หรือตามแต่ข้อตกลง


การกำหนดวงเงินค้ำประกัน มีเงื่อนไขอย่างไร

ธนาคารเป็นผู้กำหนดวงเงินค้ำประกัน และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละประเภทการค้าประกันสินเชื่อที่ธนาคารประสงค์ให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อ เช่น โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ทวีทุน (PGS6) ปรับปรุงใหม่ มีวงเงินค้ำประกันสูงสุดรายละไม่เกิน 40 ล้านบาท รวมทุกสถาบันการเงิน ซึ่ง บสย. จะให้การค้ำประกัน สำหรับสินเชื่อส่วนที่ได้รับการอนุมัติจากธนาคารในครั้งนี้เท่านั้น โดยจะต้องไม่นำสินเชื่อในส่วนที่ บสย. ค้ำประกันไปชำระหนี้เดิม และไม่ค้ำประกันสินเชื่อเดิม โดยวงเงินค้ำประกันขึ้นกับเงื่อนไขของแต่ละประเภทการค้ำประกันสินเชื่อ


ภายหลังจากการค้ำประกัน ค่าธรรมเนียมค้ำประกันในปีต่อ ๆ ไป จะต้องดำเนินการอย่างไร

ธนาคารเป็นผู้จัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งให้ บสย. ล่วงหน้าก่อนครบกำหนดอายุการค้ำประกันในแต่ละปี หากไม่ชำระภายในวันที่ครบกำหนด จะถือว่าธนาคาร มีความประสงค์ที่จะยกเลิกการค้ำประกันให้กับผู้ประกอบการรายนั้น


ภายหลังจากผู้ขอกู้ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. และได้มีการผ่อนชำระหนี้กับธนาคารลดลงแล้ว จะสามารถลดวงเงินค้ำประกันของ บสย. ได้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร

ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร และแจ้งผลการพิจารณาแก่ บสย. ต่อไป ซึ่งผู้กู้สามารถปรึกษากับธนาคารได้


การยกเลิกการค้ำประกันก่อนครบกำหนดอายุการค้ำประกันสามารถทำได้หรือไม่ และ บสย. จะคืนค่าธรรมเนียมในส่วนที่ชำระล่วงหน้ารายปีหรือไม่

ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร และแจ้งผลการพิจารณาแก่ บสย. ต่อไป

 บสย. ผนึก กรุงไทย เปิดโครงการ “ค้ำประกันสินเชื่อ SME เพื่อรับงานภาครัฐ”

–  เพิ่มสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียนผู้ประกอบการ 

–  ครอบคลุมงานรัฐ-รัฐวิสาหกิจ

–  รับเหมา จัดซื้อจัดจ้าง งานภาครัฐทุกประเภท

      บสย. – กรุงไทย  ผนึกกำลัง เสริมความแกร่งการเงิน กลุ่มผู้ประกอบการรับงานภาครัฐ  เปิดโครงการความร่วมมือ   “ค้ำประกันสินเชื่อ SME เพื่อรับงานภาครัฐ” กรุงไทย ปล่อยกู้  บสย.ค้ำประกัน  สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อผู้ประกอบการ สร้างเม็ดเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

     นายประสิทธิ์ วสุภัทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดกลาง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลมีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ กอปรกับการที่ธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องงานรัฐ โดยเฉพาะในการดูแลสินเชื่อของผู้ประกอบการที่รับงานจากภาครัฐ พร้อมสนองนโยบายภาครัฐ ธนาคารกรุงไทยจึงเล็งเห็นโอกาสที่จะเข้าไปสนับสนุนสินเชื่อครบวงจรให้กับกลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าว ภายใต้โครงการ 2 โครงการ ได้แก่ หนังสือค้ำประกันทันใจ ซึ่งสามารถอนุมัติภายใน 1 วัน และเมื่อประมูลงานได้ ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อทุนหมุนเวียนในรูป Pre Finance สูงสุด 30% ของมูลค่าโครงการ และพร้อมรับซื้องวดงาน (Post Finance) สูงสุด 90% ของมูลค่าสุทธิในแต่ละงวดงาน โดยในครั้งนี้เราได้รับความร่วมมือจาก บสย.ในการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ Pre Finance ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย SME อย่างแท้จริง

       นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เปิดเผยว่า เป้าหมายหลักของความร่วมมือระหว่างบสย.และธนาคารกรุงไทย  ภายใต้  โครงการ “ค้ำประกันสินเชื่อ SME เพื่อรับงานภาครัฐ”   คือการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการที่รับงานภาครัฐ  สามารถเข้าถึงแหล่งทุน  โดยมีธนาคารกรุงไทย เป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ และมี บสย. เป็นผู้ค้ำประกัน ในฐานะเครื่องมือรัฐ  ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอในระหว่างการดำเนินโครงการงานภาครัฐ ภายใต้โครงการนี้ บสย.จะทำหน้าที่ “ค้ำประกัน” สินเชื่อที่จะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนก่อนเริ่มทำงาน (Pre Finance)  โครงการนี้จะช่วยให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน ทันทีที่ผู้ประกอบการได้งาน และจะได้วงเงินหมุนเวียนจากธนาคารกรุงไทย โดยบสย.ค้ำประกันให้  ซึ่งการนำกลไกนี้มาใช้ จะช่วยลดเปอร์เซนต์การทิ้งงานของผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการได้รับเงินทุนหมุนเวียนในระหว่างการดำเนินโครงการ หรือในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม เกิดการกระตุ้นงานภาครัฐ และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ  โดยบสย.จะใช้วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ กลุ่มผู้ประกอบการเพื่องานภาครัฐ  ผ่านโครงการ PGS 5  ที่รัฐบาลอนุมัติไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มูลค่า 2.4 แสนล้านบาท ที่จะสิ้นสุดในปี 2558

      สำหรับยอดค้ำประกันกลุ่มผู้ประกอบการงานภาครัฐ  ตั้งแต่ก่อตั้ง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา  บสย. มียอดค้ำประกัน  กลุ่มผู้ประกอบงานภาครัฐ  รวม  1,297  ราย วงเงินค้ำประกัน  6,559.81 ล้านบาท   แบ่งเป็น  1.กลุ่มกิจการรับเหมาก่อสร้างงานภาครัฐ อนุมัติรวม 1,183 ราย วงเงิน 5,843.25  ล้านบาท และ 2. กลุ่มกิจการรับเหมาก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ของภาครัฐ จำนวน 114 ราย วงเงินอนุมัติ  716.56  ล้านบาทผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเขียนธนาคาร"

สินเชื่อรายย่อย “ออมสิน” เริ่มแล้ว บสย. พร้อม! ค้ำประกัน


หลังจากหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ทุกคนได้ชาร์ตแบตกันเต็มๆ แล้ว ก็มาพร้อมข่าวดีเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะรายจิ๋ว รายย่อย กับโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Entrepreneurs) ระยะที่ 2 ซึ่งผู้ประกอบการไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือหาคนมาค้ำประกัน สามารถให้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันได้วงเงินไม่เกิน 2 แสนบาท
           
ข่าวดีที่ว่าก็คือ ธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา มีความพร้อมในการส่งคำขอค้ำประกันมายัง บสย. เป็นที่เรียบร้อย นั่นหมายถึงขณะนี้ ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปยื่นเรื่องขอสินเชื่อเพื่อรายย่อย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ “สินเชื่อประชาชนสุขใจ” ในสาขาต่างๆ ของธนาคารออมสินได้แล้วข่าวดีมากกนั้นคือ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ก่อนวันสงกรานต์ 1 วัน ธนาคารออมสินได้มีการส่งคำขอค้ำประกันสินเชื่อ รายแรกที่เข้าร่วมโครงการนี้มายัง บสย. สำนักงานใหญ่ เป็นที่เรียบร้อย โดยมาจากสาขาวิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ บสย. ทันที  ดังนั้น ตั้งแต่หลังสงกรานต์นี้เป็นต้นไป เราจะได้เห็นผู้ได้รับเงินกู้รายแรกจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยนี้แน่นอน ในส่วนกระบวนการของ บสย. นั้น กรณีที่ธนาคารอนุมัติสินเชื่อ และส่งเอกสารคำขอค้ำประกันสินเชื่อ รายงานวิเคราะห์ ตลอดจนเอกสารประจำตัวผู้กู้ และหลักฐานต่างๆ มาถึง บสย. สำนักงานใหญ่ ที่กรุงเทพฯ แล้ว บสย. จะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติภายใน 3 วัน ทำให้ผู้กู้ไม่ต้องรอนานเกินไป ก็สามารถได้เงินทุนหมุนเวียนในกิจการขณะนี้การทำงานของธนาคารออมสิน และ บสย. เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว เริ่มมาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยร่วมกันจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผ่านการโรดโชว์ตามตลาดสดหลักๆ  เพื่อบอกข่าวดีให้กับผู้ประกอบการรายจิ๋ว พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก อาทิ บสย. สาขากรุงเทพมหานคร ที่ออกเดินตลาดร่วมกับธนาคารออมสินสาขาเพียวเพลส  ที่ตลาดนานาเจริญ คลอง 2 ลำลูกกา ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างคึกคักจากผู้ค้าในตลาดผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเขียนธนาคาร"หลังสงกรานต์ บสย. และธนาคารออมสิน ยังมีแผนร่วมกันประชาสัมพันธ์โครงการนี้ผ่านกิจกรรมอีกมากมาย รวมถึงการลงพื้นที่ไปยังตลาดสดต่างๆ ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาผู้ประกอบการรายย่อยแบบถึงตัว เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ค้าขายที่สนใจโครงการนี้สำหรับ SMEs ที่สนใจโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย ต้องการเงินทุน แต่ขาดหลักทรัพย์ หรือไม่มีคนค้ำประกัน นอกจากธนาคารออมสินแล้ว ยังมีธนาคารทิสโก้ และไทยเครดิตเพื่อรายย่อย พร้อมปล่อยสินเชื่อ ช่วยผู้ประกอบการแล้ว!
#หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย”#ข่าวทั่วไทย-ไกลทั่วโลก#
หนังสือพิมพ์รายวัน"ข่าวประเทศไทย"
เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาชนผดุงความธรรมในสังคม
  #เปิดอ่านทาง WEBSITE:
HTTPS://WWW.THAILANDWORLDNEWS.COM
หนังสือพิมพ์รายวัน”ข่าวประเทศไทย#
#นายสิทธิชัย ไชยกิจ (ชัย บางสะแก)เจ้าของ-บรรณาธิการ #
#ติดต่อกองบรรณาธิการ ##ประสงค์ ส่งข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
ร้องขอความเป็นธรรม”เครือข่ายบุติธรรม”
ส่งที่อีเมล : THAILANDWORLDNEWS@GMAIL.COM
เครือข่ายยุติธรรม เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
*******************************************

 

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.