“เครือข่ายยุติธรรม”
หนังสือพิมพ์รายวัน
“ข่าวประเทศไทย”
ได้รับการร้องเรียนจากไม่ประชาชน และกลุ่มบุคคลต่างๆ
ว่าถึงเวลาหรือยัง ที่ รัฐบาลฯชุดนี้ ภายใต้ร่มเงา ของ”คสช.”นี้ซึ่งคงไว้ด้วยความมีอำนาจเต็มที่สามารถใช้อำนาจ ม.44 ดำเนินการสิ่งที่ใดๆได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ฃึ่งรัฐบาลภายใต้ นายกรัฐมนตรี นี้ ก็สามารถจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรมไม่ว่า การยึดทรัพย์ทรัพยากรของฃาติ ที่นายทุนบุกรุกครอบครองผืนป่ากลับคืนมาเป็นของรัฐฯได้ดังเดิมเป็นจำนวนมาก แม้กระแสร์แรงในขณะนี้ คือการปฏิรูป ตำรวจ ซี่งได้เรียกร้องกันมาโดยตลอดให้ตำรวจมีการควบคุมปฏิบัติที่ถูกต้องยุติธรรม ดังเช่นการตั้งด่าน การให้สินบนนำจับกฎหมายจราจรจราจร หรือที่อื้อฉาว ฉาวโฉ่อย่างยิ่งในสังคมขณะนี้ ที่มีนักการเมือง ออกมาแฉว่ามีการซื้อขายตำแหน่ง ขนาด หัวใหญ่สุดของตำรวจเองก็ออกมาตอบโต้ ระบุว่าไม่มีซื้อขายตำแน่งแน่ๆ แต่ก็เหมือนแค่ไฟไหม้ฟางลุกฮือแล้วก็ดับ จนกระทั่งบัดนี้ยังไม่มีความชัดเจน ให้ความกระจ่างต่อสังคมได้ ว่า มีจริง หรือไม่มีจริง ในการซื้อขายตำแหน่งในวงสีกากีตำรวจนี้ เพราะทุกอย่างกำลังเงียบเหมือนสายลมที่พัดผ่านไปแล้ว แล้วกัน
ลงมามองย้อนกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เริ่มต้นแน่นอนหนีไม่พ้น คือ……
“คำรวจ” ซึ่งประชาชนรู้ดีทน..หวานอมขมกลืนมาโดยตลอด จากไม่ว่าการกระทำที่เป็นธรรมหรือไม่ อย่างคดีต่างๆ ที่ ไม่ว่าคดีลูกเครื่องดื่มชูกำลัง กระทั่งคดี สาวคาราโอเกะอย่าง “เปรี้ยว” สังคมยังกังขา…ต่อระบบความยุติธรรมของตำรวจ
และอันดับสองก็….
“อัยการ” อัยการจะเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ดูออกจะลึกลับซับซ้อน ประชาชนทั่ว ไม่ค่อยรู้จัก อัยการ มีหน้าที่อย่างไร ประชาชนไม่รู้จะเข้าถึงอย่างไร เพราะอัยการมักอยู่เบื้องหลัง ยุติธรรมเบื้องต้นคือตำรวจ มีสิ่งใดก็ใช้ตำรวจ ดังนั้น ดูตำรวจจะเกรงใจ อัยการมากกว่าทางศาล เสียอีก เพราะแค่สำนวนสอบสวนสำนวนเดียว อัยการสั่งสอบเพิ่ม สักสองสามครั้ง ตำรวจก็แทบกระอักเลือด เพราะสำนวนคดีถาถมมาทุกวัน คดีเก่าชั้นส่งอัยการก็ยังสรุปไม่ลง สั่งสอบเพิ่ม คดีทับถมกลายเป็นดินพอกหางหมู ครั้นสำนวนค้างมาก ก็ถูกเจ้านายเล่นงาน จนกระทั่งมี ตำรวจยิงตัวตาย (ตำรวจมักยิงตัวตายมากกว่าตายฆ่าตัวตายด้วยวิธ๊อื่นๆเพราะมีปืนติดตัวอยู่แล้ว) ด้วยสาเหตุนี้ แต่มักจะไมเป็นที่เปิดเผยจะออกข่าวเพียงว่าเครียดเรื่องงาน ดังนั้น ความยุติธรรมอันดับสอง ใกล้เคียงความยุติธรรมอันดับหนึ่ง
แต่กระบวนการยุติธรรม ขั้นสุดท้าย คือ
“ศาล” ศาลคือที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน ด้วยความหวัง ความศรัทธา ความเชื่อมั่น และด้วยความที่ “ศาล” กระทำภายใต้”ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์” ปวงชนชาวไทยรัก เทอดทูนสถาบันกษัตริย์ ปวงชนจึงยอมเคารพศาล ด้วยเหตุฉนี้..มาโดยตลอด แม้แต่สื่อเอง บางครั้งมีข่าว ศาลบางศาลในอดีต มีผู้ไปฟังคำตัดสิน มีการกระโดดศาล แต่สื่อฯก็เคารพศาล ไม่เคยนำเสนอข่าวเช่นนี้เลยในอดีต ไม่ใช่แค่ปวงชน แม้แต่สื่อ ให้ความเคารพศาลมาโดยตลอด แม้บางเรื่องจะมีความเห็นขัดแย้ง แต่ก็เคารพ ยอมให้ผ่านไปเสมือนไม่มีสิ่งใดขัดแย้ง
แต่บัดนี้ก้าวสู่ยุคใหม่ สมัยดิจิตอล แม้ศาลก็ดูเหมือนจะมองดูเท็คโนโลยี่สมัยใหม่มากขึ้นแล้ว แต่ระเบียบวิธีพิจารณาคดีทั้แพ่ง และอาญายังดูล้าหลังไม่ทันยุคสมัย นับแต่ ทนายทำผิด ไม่ส่งคำอุทธรณ์ ให้อีกฝ่ายถึงขั้นยกอุทธรณ์ จำหน่ายตดี ให้เจ้าของอุทธรณ์ต้องเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งๆที่ไม่ใช่ความบกพร่อง ความผิดของเจ้าของคดีและคดีนี้ยังรอความยุติธรรมที่ชัดเจนอยู่ สมควรที่ศาลจะแจ้งให้ผู้อุทธรณ์คดีทราบว่า ทนายไม่ส่งคำร้องให้อีกฝ่าย ซึ่งคดีนั้นผู้อุทธรณ์แสดงเจตนาอุทะรณ์ชัดเจนถึงขนาดยื่นอุทธรณ์แล้ว แต่ทนายไม่ส่งสำเนาให้อีกฝ่าย ประชาชนทั่วไปจะ รู้ใหมระเบียบของศาลเช่นนี้ “ศาล”เองก็ควรที่แจ้งให้ตัวเจ้าของคดีมาทำให้ถูกต้อง มากเสียกว่าที่เอาระเบียบพิจารณาความ มาวางแล้วเสียซึ่งกระบวนการยุติธรรมและหลายๆเรื่องที่ทนายทำผิดพลาดเช่น อุทธรณ์-ฎีกา โดยไม่มีข้อกฎหมาย ศาล ยกอุทธรณ์-ฎีกา โดยคดีไม่ได้เข้าสู่ความยุติธรรมอันจนเป็นที่ยุติ และศาลจะมักอ้างว่า ทนายคือตัวแทนของลูกความ ถ้าทนายผิดในการปฏิบัติ ลูกความต้องยอมรับผิดด้วย ซึ่งตามหลักความยุติธรรมควรจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ดังที่กล่าวมาแค่จุดเล็กๆๆนี้ ยังมีความยุติธรรมก็ไม่บังเกิดความยุติธรรมเป็นอย่างมาก และยิ่งการคัดถ่ายสำเนาเอกสารในสำนวนคดีของศาลนั้นๆ ถือได้ว่าเป็นการค้ากำไรเกินควรกับผู้มาพึ้งขอความยุติธรรม ความเป็นธรรมต่อศาลเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเปรียบเป็นการค้าข้างนอกศาลก็เป็นการค้าที่ผูกขาด ไม่สามารถนำเอกสารในสำนวนไปถ่ายที่อื่นได้ เป็นการบังคับโดยหลักเกณฑ์ ถ้าเป็นการค้าภายนอกเข้าเรียกว่าระบบผูกขาด โดยถ่ายเอกสารข้างนอกราคาแค่หน้าละ…มีตั้งแต่หน้าละ20-30-35 และแพงสุดไม่เกินหน้าละ 50สตางค์ มีส่วนลด ถ่ายจำนวนหน้า 20-30-50-100หน้าขึ้นไปลดอีกเท่าใด แต่ที่ถ่ายเอกสารต้องถ่ายที่ศาล ราคาค่าถ่ายเอกสาร หน้าละ2 บาท และไม่มีจำนวนหน้ามากจะมีส่วนลดแต่ประการใดๆเลยแม้แต่สตางค์แดงเดียว และทุกคดีต้องมีความจำเป็นถ่ายเอกสารทุกๆๆคดี ทั้งไม่ว่าถ่ายระหว่างพิจารณาคดี ยิ่งการอุทธรณ์-ฏีกา ยิ่งต้องถ่ายเอกสารจำนวนนับเป็นหลายร้อยหน้า ถึงขนาดกว่าจะจบแต่ละคดี ค่าถ่ายเอกสารเป็นจำนวนสูงถึงกว่าหมื่นบาท อย่างต่ำก็ไม่ต่ำกว่าห้าพันบาทในทุกๆคดี ก่อความเดือดร้อนต่อผู้มึคดีความอยู่แล้วต้องถูกซ้ำเติมความเดือดร้อนจากค่าถ่ายเอกสารที่แพงอย่างมาก ใหนจะเดือดร้อนเรื่องคดีความยังเดือดร้อนค่าถ่ายเอกสารในศาลที่แสนแพงอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ด้วย นี่คือความเดือดร้อนและมองเห็นความไม่ยุติธรรมในบริเวณศาลที่สถิตย์ไว้ด้วยความยุติธรรมอย่างชัดเจนของประชาชนที่ต้องไปขอความเมตตา ความยุติธรรมต่อศาล
และคำตัดสินของศาล ที่ใช้คำว่า….”ศาลพิเตราห์ว่า”…”ศาลเชื่อว่า”….”ศาลเห็นว่า” นั้นควรจะหมดไปในชบวนการพิจารณาในคำตัดสิน ต้องมีแต่คำว่า “ตามพยานหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจนแล้วว่า……..”ในคำตัดสินเท่านั้น สร้างความมั่นใจที่ประชาชนอยากจะได้รับความยุติธรรม รับความเป็นธรรมจากศาล
และแม้แต่คดีแพะ ที่รอการพิจารณาจากศาล และคดีแพะที่ชัดเจนแล้ว แต่ประชาชนยังไม่ได้เห็นความเคลื่อนไหวใดๆๆต่อศาลต่อแพะที่ชัดเจนนี้เป็นความผิดชองขบวนการยุติธรรมทั้งระบบ หรือขั้นใหนของกระบวนการยุติธรรมเป็นความผิดพลาดของ”ศาลหรือเปล่า”จากกรณีฯแพะที่ชัดเจนแล้วนี้ ไม่มีแม้คำชี้แจงใดๆจากชบวนการยุติธรรม แม้แต่ชบวนการยุติธรรมขี้นสุดท้าย คือ”ศาล”
ในระบบของศาลเอง แม้จะมีวิธีพิจารณาที่ชัดเจน ชั้นอุทธรณื ชั้นฏีกา ศาลต้องออกมานั่งบัลลังค์สืบอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ทางปฏิบัติ ทั้งอุทธรณ์-ฎีกา ศาลท่านจะพิจรณาแค่คำอุทะรณ์-ฏีกา ในคำอุทธรณ์-ฎีกา บนแผ่นกระดาษของคำอุทธรณ์-ฎีกา เสียส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ซี่งเจตนาของกฎหมายเพื่อให้เกิดได้สืบคู่ความเป็นการให้เกิดความยุติธรรมได้อย่างเต็มความยุติธรรม
และจากการที่ศาลจะไม่ให้คดีทุนทรัพย์น้อย เข้าสู่ อุทธรณ์-ฎีกานั้น นั้น น่าที่จะเป็นการตัดทอนความยุติธรรมสุดท้ายแห่งความยุติธรรมที่ประชาชนให้ความเคารพอย่างสูงยิ่งเทียบประดุจดัง”องค์พระเจ้าอยูหัว”
ถีงเุวลาหรือยังที่ต้องยกระบบความ”ยุติธรรม” ทั้งระบบมาปฏิรูป
โดยเฉพาะ”ศาล” ที่ทุกรัฐบาลมองข้ามการปฎิรูปมาทุกยุคทุกสมัย ด้วยประชาชน แม้แต่สื่อเอง ก็ยังให้ตวามเคารพอย่างสูงสุดโดยตลอดมาเช่นกัน