จ.ตาก… เชิญชมหนึ่งเดียว”ดอกกระเจียวสีส้ม” – จัดประเพณีผูกข้อมือ”กะเหรี่ยง”

0
828

จ.ตาก-หัวหน้าอุทยานน้ำตกพาเจริญเชิญชวนเที่ยวชมดอกกระเจียวสีส้มหนึ่งเดียวของจังหวัดตากเที่ยว1ตากเที่ยว

หัวหน้าอุทยานน้ำตกพาเจริญเชิญชวนเที่ยวชมดอกกระเจียวสีส้มหนึ่งเดียวของจังหวัดตาก ออกดอกบานสะพรั่งในช่วงฤดูฝน

      “นายสุรศักดิ์ คำปาแก้ว” หัวหน้าอุทยานน้ำตกพาเจริญ อ.พบพระ จ.ตา ก กล่าวว่า น้ำตกพาเจริญเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ภายในอุทยานฯ อยู่ติดถนนทางหลวงสายแม่สอด – อุ้มผางหมายเลข 1090หลักกิโลเมตรที่ 40  ต.ช่องแคบ  อ.พบพระ  จ.ตาก  ซึ่งอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญอยู่ในสังกัดอุทยานแห่งชาติ  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่14 จังหวัดตากครอบคลุมพื้นที่อำเภอพบพระและอำเภอแม่สอดโดยในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายนทุกปีภายในน้ำตกพาเจริญมีไฮไลท์ทีสำคัญ คือ ดอกกระเจียวกำลังออกดอกสีส้ม หรือขมิ้นแดง  พบทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ใบรูปรีแผ่นใบเป็นคลื่น มีขนใต้ใบก้านช่อดอกยาว  ใบประดับสีส้มแดงทั้งช่อดอก ไม่มีขน ดอกสีขาว ปากสีเหลือง  มีสันสีเหลืองเข้ม กลีบสเตมิโนดสีขาว ขนานกันอับเรณูป่องออกที่โคน

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่าเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าหากนักท่องเที่ยวหรือประชาชนจะเดินทางมาเที่ยวชมกระเจียวสีส้มหนึ่งเดียวของจังหวัดตาก  สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ นายสุรศักดิ์ คำปาแก้ว หัวหน้าอุทยานน้ำตกพาเจริญ หมายเลขโทรศัพท์  081-887-4731 นายครินทร์ หิรัญไกรลาส  ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ โทร.094-486-4197 และนางสาวอรพิน  อินต๊ะเสน  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ น้ำตกพาเจริญ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก

จ.ตาก จัดงานผูกข้อมือกะเหรี่ยงมือมือ1

ณ.วัดภาวนานิยมมาราม ( วัดป่าเก่า) ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก

         ได้มีการจัดงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีพิธีผูกข้อมือชนเผ่ากะเหรี่ยง ประจำปี 2560 โดยมีชาวกะเหรี่ยงที่หลากหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดตากและประเทศเมียนมาเข้าร่วมงาน กว่า 200 คน

        นางน้อย อายุ 58 ปี ไม่มีนามสกุลสัญชาติเมียนมา เชื้อสายกะเหรี่ยง กล่าวว่า งานประเพณีผูกข้อมือเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ชนชาวกะเหรี่ยงปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกปี จากความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงในอดีตว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีขวัญของตนเอง การผูกข้อมือรับขวัญจึงเป็นงานประเพณีที่สำคัญที่จะจัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง เพื่อเรียกขวัญลูกหลานของตนให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวซักครั้งหนึ่ง มักจัดขึ้นในช่วงเดือนเก้าโดยในงานจะมีการขอขมาลาโทษต่อผู้เฒ่าผู้แก่ และรับศีลรับพรรับขวัญจากผู้เฒ่าผู้แก่ด้วยเช่นกัน จึงได้เรียกว่า “งานผูกข้อมือ” ในการผูกข้อมือมีสิ่งที่สำคัญคือ บายศรีสู่ขวัญ ประกอบด้วย ข้าวเหนียว ข้าวต้ม ขนม ผลไม้ และด้ายผูกข้อมือ จากนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะมารวมกันและมักจัดกันที่วัด ซึ่งเด็ก เยาวชน และประชาชนในหมู่บ้านก็จะมาร่วมงานผูกข้อมือ ภายในงานจะมีการสวดมนต์ไหว้พระ รับศีลรับพรจากพระสงฆ์ การผูกข้อมือเรียกรับขวัญ การให้โอวาทต่อคนรุ่นหลัง การร้องรำทำเพลง และการละเล่นต่างๆ จากนั้นก็จะมีการรับประทานร่วมกัน เกิดการพบปะพูดคุยกัน สร้างความรักความสามัคคีในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

นางน้อย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณี เรียกขวัญผูกข้อมือชาวกะ เหรียงในปีนี้ งดการละเล่น เช่น การร้องรำทำเพลง และ การละเล่นต่างๆ เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการไว้ทุกข์ แสดงความอาลัย และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร.9

ข่าวภูมิภาค…….นายบุญอนันต์ ขัยธิ ภาพ/ข่าว

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.