กรมชลฯเฝ้าระวังแล้ง พร้อมเตรียมรถน้ำไว้ช่วยเหลือประชาชน

0
1243

จากการจัดสัมมนา “ฝ่า…วิฤกตน้ำ” โดยสถาบันอิศรา ร่วมกับผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 6 โดยมี นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) , นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน , นายระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมเครือข่ายชาวนาไทย และนายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรอ.) เข้าร่วม

โดย นายทองเปลว กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในการดูแลของกรมชลฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ดูแล มี 33 แห่ง ขณะนี้มีปริมาณน้ำใช้การได้ 22% หรือประมาณ 1 หมื่นล้าน ลบ.ม.น้อยกว่าปีที่แล้ว 5 พันล้าน ลบ.ม.ถ้าใช้ตามแผนระบายวันละ 18 ล้าน ลบ.ม.จะไม่มีปัญหามีน้ำใช้ถึง ก.ค.แน่นอน ทั้งเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ ได้เริ่มนำน้ำก้นเขื่อนมาใช้เหมือน ปี 36 – 37 ได้เคยนำใช้มาแล้ว ในส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทานน่าเป็นห่วง ซึ่งมีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 27 จังหวัด หากสิ้นเดือน ก.ค.ถ้าไม่พอหาน้ำมาเติม เช่น จ.นครราชสีมา บึงสีไฟ กว้านพะเยา ระดมหาน้ำบ่อบาดาลมาช่วย เตรียมรถบรรทุก 4,832 คัน ไม่ให้ประชาขนขาดน้ำกินน้ำใช้ไม่ได้โดยเด็ดขาด เป็นนโยบายของ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ขณะนี้ 152 อำเภอ เป็นพื้นที่เฝ้าระวังใกล้วิฤกต

“ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเคยเกิดเหตุการณ์แล้งแบบนี้ในปี 37 น้ำมี 2 พันล้าน ลบ.ม.มีการปลูกนาปรัง 1.8 ล้านไร่ ในปีนี้ปลูก 1.9 ล้านไร่ อย่างก็ตามการคาดการณ์ทุกสถาบันอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก มากว่า 30 สถาบัน ประเมินว่าภาวะฝนทิ้งหรือแอลนิโญ่คลายตัวเดือน พ.ค.เชื่อว่าปลายเดือน พ.ค.ฤดูฝนจะมา ทั้งนี้ รมว.เกษตรฯ ได้สั่งทุกกรมเกี่ยวข้องร่วมกันวางแผน หากมีปริมาณน้ำเขื่อนเหลือ 1.6 พันล้าน ลบ.ม.ในช่วงดังกล่าวจะไม่พอแน่สำหรับการเพาะปลูก ซึ่งปี 53 เคยเลื่อนทำนาปีไปถึงปลายเดือน ก.ค.แต่ปีนี้ ต้องรอกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์อีกครั้งช่วง 30 เม.ย.นี้” นายทองเปลว กล่าว

ด้าน นายระวี กล่าวว่า การประกาศภัยแล้งมีทุกเดือน แม้ในปีปกติ ในพื้นที่แล้งซ้ำซากมีทุกปี ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรปรับตัวได้มาตลอด ทำนารอบเดียว แล้วมารับจ้างในเมือง หรือขับแท็กซี่ ส่วนเกษตรกรในเขตชลประทาน มีอาชีพทำนาปลูกได้หลายรอบ เกิดไม่มีน้ำขึ้นมาสะดุดเลยเพราะไม่มีอาชีพเสริม และมีปัญหาเรื่องราคามาโดยตลอด รัฐบาลต่างๆ ก็เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มนี้มาเสมอ แต่สุดท้ายแล้วข้อมูลในพื้นที่กับรัฐบาลไม่ตรงกัน ซึ่ง 8 มาตรการที่รัฐช่วยเหลือ เช่น ให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อย ขุดลอกคูคลอง กระทรวงเกษตรฯ ก็ทำมาทุกปี ผ่านมากี่ปีก็ทำแบบนี้ ทางจังหวัด อบต.คิดอะไรไม่ออกก็ใช้งบมาเสริมถนน สร้างศาลา เพราะข้าราชการส่วนภูมิภาค กับส่วนกลางมั่วมาก เร่งรีบทำแผนมาตลอด เกิดปัญหาความต้องการในพื้นที่ไม่เคยตรงกับแผน จริงๆ เพราะไม่เคยทำแผนล่วงหน้าไว้ ตนมองว่ารัฐบาลต้องการกระจายเงินลงพื้นที่ เติมเงินกองทุนหมู่บ้าน ตั้งศูนย์เรียนรู้ เปิดทั่วไปหมดทั่วประเทศ จนหาวิทยากรไม่ได้แล้วตอนนี้ ทุกกระทรวงก็ทำศูนย์เรียนรู้เหมือนกันหมด ให้ชาวนาให้เกษตรกรไปเรียนได้ค่าจ้างเรียนวันละ 200 บาท สุดท้ายคือรัฐบาลต้องการแจกเงิน เช่น โครงการชะลอข้าวไว้ในยุ้งฉาง 2 หมื่นล้านบาท แต่ใช้ได้แค่ 6 พันล้านบาท เพราะข้าวไม่ได้อยู่ในมือชาวนาแล้ว ซึ่งเงินไม่ได้ตกกับชาวนา ทั้งหมดมาจากนโยบายต่างๆ ที่ช่วยเหลือไม่เคยสำรวจความต้องการจริง

นายจักรรัฐ กล่าวว่า พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 1.5 แสนไร่ เทียบการเกษตรมี 150 ล้านไร่ ถือว่าพื้นที่นิคมน้อยมาก มีโรงงาน 1.5 แสนโรงทั้งประเทศ การลงทุน 5.9 ล้านๆ บาท สำหรับตัวนิคมมีแผนการบริหารจัดการน้ำ มีการน้ำในนิคมไว้ 5 แสน ลบ.ม.และน้ำจากบ่อบาดาล 9 แสน ลบ.ม.และมีแหล่งน้ำสำรองไว้รอบบริเวณ 3 – 4 ล้าน ลบ.ม.ไม่ต้องกังวลว่าจะไปแย่งน้ำชาวบ้าน

ขณะที่ นายนิพนธ์ กล่าวว่า ประเด็นการจัดการน้ำเป็นเรื่องสำคัญต้องวางแผนระยะยาว ขณะนี้เราพึ่งสองอย่าง จากส่วนกลาง กับพระสยามเทวาธิราช จะปล่อยอย่างนี้ต่อไปไม่ได้ ยิ่งตอนนี้การหาแหล่งน้ำแพงขึ้นและมีความขัดแย้งมากในพื้นที่ ซึ่งการจัดการน้ำในเขื่อนจะไม่เป็นปีต่อปีไม่ได้ จะเป็นอันตรายมาก รวมทั้งระบบสั่งการแบบรวมศูนย์อำนาจมีปัญหามากตลอด มีน้ำเยอะก็ปล่อยทิ้ง ยิ่งมีโครงการจำนำข้าว ทำให้น้ำลดลงอย่างมากตลอด 4 ปี จนทำให้ปีนี้น้ำต่ำสุดในรอบ 40 ปี เรื่องน้ำกลายเป็นประเด็นความอ่อนไหวต่อการแทรกแซงการเมือง เพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นของนักการเมือง จนทำให้เหตุการณ์ปีนี้ย่ำแย่มาก เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พื้นที่เพาะปลูกลดลง ผลผลิตต่อไร่ลดลง ทั้งข้าวโพด อ้อย ข้าว ลดลง 37% มีความสูญเสียพืชเศรษฐกิจรวม 8.7 หมื่นล้านบาท การบริโภคลดลง 5% จีดีพีภาคเกษตร 6.6 หมื่นล้านบาท แม้ว่ารัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร 8 มาตรการ ก็เห็นกันอยู่ว่ากระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน อีกทั้งมาตรการปรับปรุงแหล่งน้ำบาดาล และน้ำประปา ใช้เงิน 2 พันกว่าล้าน ทำมา 2 ปีแล้ว ซึ่ง รมว.เกษตรฯ บอกว่าพื้นที่ภัยแล้งลดลง ก็ควรลดเพราะทำไปมากล่วงหน้าแล้ว ถ้าไม่ลดแสดงว่าไม่มีประสิทธิภาพเลย

ทั้งนี้ ขอให้กรมชลฯ ทำตัวเลขปริมาณน้ำให้คนทั่วไปดูเข้าใจง่ายขึ้น ตนประเมินว่าปริมาณน้ำที่เหลืออีก 2 พันล้าน ลบ.ม.น่าจะไช้แค่ 84 วัน จะไม่ถึง 30 มิ.ย.หากต้นฤดูฝนเดือน พ.ค.ทุกคนแห่ทำนาปี ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมปลายฤดูฝน อาจต้องชิงปลูกก่อน ถ้าฝนไม่มา กรมชลฯ จะเอาน้ำที่ไหนให้ชาวนา เพราะนาปีเป็นเรื่องชีวิตของเกษตรกร แต่มาดูสถานการณ์สภาพอากาศปีนี้ยังโชคดีที่ภาวะแอลนิโญ่ คลี่คลายเดือน พ.ค.แต่ภาวะฝนยังต่ำกว่าระดับปกติ ประมาณ 4 – 4.5 มิลลิเมตรต่อวัน

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.