ทราบกันใหม?? วันนี้(28 กย.60 และของทุกปี)คือวัน”ธงชาติ”ไทย และที่มา..ช้างนอนงาย จึงเป็นไตรรงค์! ต้นเหตุเกิดที่”จังหวัดอุทัยธานี” ตื่นเต้น!!! จัดฉลอง ๑๐๐ ปีธงชาติไทย

" จังหวัดอุทัยธานี"งานฉลอง ๑๐๐ ปีธงชาติ ที่เป็นต้นเหตุมาจาก "ธงช้างหงายท้อง"

0
2528

เหตุไฉน??..”จังหวัดอุทัยธานี” จึงตื่นเต้นกับเรื่องนี้กว่าทุกจังหวัด และจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปีธงชาติไทยไปแล้วอย่างเอิกเกริกเมื่อวันที่ ๑๒-๑๗ กันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ก็เพราะเมืองนี้นี่เอง ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดธงไตรรงค์ขึ้น

ครม.ได้มีมติเ ให้วันที่ ๒๘ กันยายนของทุกปี เป็นวันพระราชทานธงชาติไทย

และให้เริ่มในวันที่ ๒๘ กันยายนในปี ๒๕๖๐ นี้เป็นปีแรก ซึ่งจะเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปีที่เปลี่ยนธงชาติไทยจากธงช้างมาเป็นธงไตรรงค์อันงามสง่าอย่างไม่มีปัญหาธงชาติ

ธงชาติไทย

ให้ทุกจังหวัดจัดกิจกรรมเผยแพร่ความเป็นมาของธงชาติไทย แต่เหตุไฉนจังหวัดอุทัยธานีจึงตื่นเต้นกับเรื่องนี้กว่าทุกจังหวัด และจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปีธงชาติไทยไปแล้วอย่างเอิกเกริกเมื่อวันที่ ๑๒-๑๗ กันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ก็เพราะเมืองนี้นี่เอง ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดธงไตรรงค์ขึ้น ธง3แสดงการใช้ธงช้างกลับข้าง

เป็นมาเริ่มขึ้นในต้นเดือนกันยายน ๒๔๕๙ ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จทางชลมารคขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อทรงสำรวจหาทางป้องกันน้ำจากทางเหนือที่ไหลลงมาท่วมไร่นาภาคกลาง และมีพระราชดำริที่จะแวะเข้าไปเยี่ยมเมืองอุทัยธานีด้วย เพราตอนนั้นอุทัยธานีจัดว่าเป็นเมืองทุรกันดาร การคมนาคมทางบกมีแต่ทางเกวียน ส่วนแม่น้ำสะแกกรังที่ใช้เติดต่อกับจังหวัดอื่นได้สะดวก ก็จะแห้งขอดในฤดูแล้ง เรือใหญ่จะเข้าได้ก็แต่ในฤดูน้ำเท่านั้น และมีหมายกำหนดการที่จะประทับแรมที่เมืองนี้ถึง ๒ คืนธง2

ธงช้างที่กลับข้างเอา ๔ เท้าชี้ฟ้าธง1

ข่าวธงชาติแบบจืดชืดที่ทดลองใช้ก่อนเป็นธงไตรรงค์ธง

งานฉลอง ๑๐๐ ปีธงชาติที่อุทัยธานี

(ภาพจากสำนักข่าวไทย)

นี้สร้างความปีติยินดีแก่ชาวอุทัยธานีเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยมีพระมหากษัตริย์เสด็จมาก่อนเลย ต่างพากันตกแต่งเคหะสถานบ้านเรือนรับเสด็จกันเป็นการใหญ่ สองข้างทางพระราชดำเนินปลิวไสวไปด้วยธงทิว พร้อมซุ้มดอกไม้และโต๊ะบูชา แต่มีธงชาติที่เป็นธงช้างอยู่เพียงไม่กี่ผืน ส่วนใหญ่ใช้แต่ผ้าขาว ผ้าแดงแขวนต้อนรับเสด็จ แม้แต่ทางจังหวัดเองยังต้องไปขอยืมธงช้างจากจังหวัดนครสวรรค์มาใช้รับเสด็จ ทรงสะดุดพระราชหฤทัยและทรงตระหนักว่า ธงช้างเป็นภาพพิมพ์ที่ต้องสั่งมาจากต่างประเทศ ทำในเมืองไทยเองไม่ได้ ทั้งราคาซื้อขายก็นับว่าแพง ยากที่ราษฎรผู้หาเช้ากินค่ำจะหาไว้ใช้ประจำบ้านได้

ยิ่งกว่านั้น ที่บ้านหลังหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเล็กๆ แต่เจ้าของบ้านอุตส่าห์ตกแต่งรับเสด็จอย่างไม่ยอมน้อยหน้าคนอื่น พยายามหาธงช้างผืนเล็กๆมาติดไว้ และคงจะภูมิใจที่สามารถหาธงช้างมาได้ จึงเอาขึ้นไปติดไว้บนยอดจั่วหลังคาเพื่อเห็นได้ถนัด ส่วนตัวเองกับครอบครัวมาหมอบเฝ้ารับเสด็จด้วยสีหน้าเบิกบานอยู่หน้าบ้าน แต่จะด้วยความรีบร้อนและสะเพร่า หรือโง่เขลาเบาปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ธงช้างนั้นจึงปลิวสะบัดอยู่ในลักษณะช้างนอนหงาย เอาสี่เท้าชี้ฟ้า ทรงทอดพระเนตรเห็น แต่ก็ไม่ทรงทำให้เจ้าของบ้านและผู้จัดรับเสด็จตกใจ

หลังเสด็จกลับจากอุทัยธานี ทรงมีพระราชปรารภปรึกษาหารือกับข้าราชสำนักผู้ใหญ่ถึงเรื่องธงชาติ โดยถือเอาเศรษฐกิจของราษฎรเป็นข้อสำคัญ กับให้มีความเหมาะสมในรูปลักษณะและสี ทั้งต้องมีความสง่างามด้วย

ต่อมาไม่นานก็ทรงพระราชดำริว่า ธงชาติควรใช้ผ้าชิ้นๆ เพลาะกันได้ง่าย เพื่อ

๑. ราษฎรจะไม่ต้องลำบากในการมีไว้ใช้ สามารถทำใช้ได้เอง ไม่ต้องสั่งซื้อผ้าพิมพ์เป็นรูปช้างมาจากต่างประเทศ

๒. ควรใช้สีที่มีความหมายในทางสามัคคี ยึดมั่นต่อชาติ และเห็นได้แต่ไกล

๓. ให้เกิดความสวยงามเมื่อเวลาประดับตามที่ต่างๆ

ในตอนแรก โปรดเกล้าฯให้ทดลองทำขึ้นเป็นห้าริ้วสองสีสลับกันตามทางยาว คือสีแดงกับสีขาว โดยวิธีนี้อาจจะหาผ้าแดงกับผ้าขาวเพลาะเข้ากันได้โดยง่าย วิธีการใช้ก็ไม่มีปัญหา จะเอาด้านไหนติดกับคันธงก็ได้โดยไม่ต้องกลัวติดผิดทางเอาหัวลงอย่างธงช้าง ทั้งไม่ต้องจ่ายเงินออกนอกประเทศ

โปรดฯให้นำธงชาติใหม่ที่ออกแบบนี้ทดลองชักขึ้นที่เสาธงสนามเสือป่า ให้ทุกคนได้เห็นและวิพากษ์วิจารณ์ แม้จะไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย เพราะดูจืดชืด ไม่เกิดความสง่างามสมกับเป็นธงประจำชาติ แต่เพื่อจะทรงฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ที่จะต้องเป็นผู้ใช้ จึงยังทรงให้ติดไว้ต่อไปอีกประมาณ ๑๐ เดือน

ในที่สุดก็ทรงรำลึกขึ้นได้ถึงสีประจำพระองค์ อันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพ คือสีน้ำเงินที่ทรงโปรดมาก ซึ่งเครื่องแบบเต็มยศของทหารราบ ๑๑ ซึ่งเป็นกองทหารรักษาพระองค์ ทั้งเครื่องแบบมหาดเล็กในพระราชสำนัก ก็ใช้สีน้ำเงินเป็นพื้น และแถบเหรียญราชรุจิราภรณ์ อันเป็นเหรียญที่ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเฉพาะข้าราชบริพารในพระองค์ ก็ใช้สีน้ำเงิน จึงทรงลองนำเอาสีน้ำเงินเข้ามาผสม จัดวางรูปให้สีน้ำเงินอยู่ตรงช่องกลาง ถัดมาเป็นสีขาว แล้วจึงเป็นสีแดงอยู่ริมสองข้าง แบ่งเป็นขนาด ๖ แถบ โดยมีสีน้ำเงินกว้างเป็น ๒ เท่า ดังสีธงชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชทานความหมายไว้ว่า

สีแดง หมายถึงชาติ ซึ่งคนไทยทุกคนต้องรักษาไว้แม้จะต้องสละเลือด

สีขาว คือศาสนา ซึ่งบริสุทธิ์ดุจสีขาวแห่งธงนี้

สีน้ำเงิน หมายถึงพระมหากษัตริย์ โดยให้ถือเอาสีน้ำเงินเป็นสีราชการ

หลังจากที่ได้ทดลองทำขึ้นแล้ว ก็เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงประกาศใช้เป็นธงชาติ

“พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐” ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๖๐ มาตรา ๓ ได้กำหนดลักษณะของธงชาติสยามไว้ว่า มีรูปสี่เหลี่ยมรี มีขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง ๑ ใน ๓ ส่วน ของขนาดความกว้างของธงอยู่ตรงกลาง มีแถบขาวกว้าง ๑ ใน ๖ ส่วน ของขนาดกว้างของธง ข้างละแถบขนาบสีน้ำเงิน แล้วจึงเป็นแถบสีแดงกว้างเท่ากับแถบสีขาว ประกบอยู่ที่ชั้นนอกอีกข้างละแถบ และกำหนดให้เรียกธงชาติสยามที่กำหนดขึ้นใหม่นี้ว่า “ธงไตรรงค์” ให้ใช้ชักในเรือพ่อค้าวานิช และในสถานที่ต่างๆ ของสาธารณชนบรรดาที่เป็นชาติสยามโดยทั่วไป

ธงไตรรงค์มีโอกาสไปสะบัดพลิ้วในยุโรปเป็นครั้งแรกในปีต่อมา คือปี ๒๔๖๑ เมื่อไทยส่งทหารเข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเมื่อสงครามสงบลง ธงไตรรงค์ยังไปสะบัดพลิ้วในพิธีสวนสนามฉลองชัยชนะที่นครปารีส ลอนดอน และบรัสเซลล์ด้วย เป็นการประกาศให้โลกรู้จักธงชาติไทย

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.