ทูลเกล้าฯถวายเหรียญทอง “รัชกาล ที่9” ทรงได้รับแข่งขันกีฬาเรือใบ

พระองค์ท่านทรงขึ้นรับ “เหรียญทอง”คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็น“วันกีฬาแห่งชาติ”

0
2639

วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็น“วันกีฬาแห่งชาติ”ถวาย ร.9 1

“ปีใหม่คนอื่นๆ เขาไปฉลองกัน เสียเงินมาก แต่เราเสีย 147 บาท เท่านั้น เป็นค่าไม้ยมหอม และค่าเบียร์ฉลองปีใหม่ แต่เรายังสนุกกว่าเขาอีก แล้วเป็นประโยชน์ด้วยร.94

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รักาลที่9 ทรงฉายแววพระอัจฉริยภาพทางกีฬาหลายประเภท ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ดังปรากฏในพระบรมฉายาลักษณ์เมื่อครั้งประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อัฐมรามาธิบดินทร พระบรมเชษฐาธิราช ทรงฉลองพระองค์ชุดสกี พร้อมอุปกรณ์การเล่นสกี ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ปุยหิมะขาวโพลน ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงสกี โดยมีนายชาเตอลายนา (Moneieur Chatelanat) ชาวสวิสเป็นครูฝึกร.92

ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของ “สมเด็จพระบรมราชชนนี” ที่มีมาถวาย“สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” ว่า “…นันทกับเล็กสกีหลายหน ทำเก่งกันทั้งคู่ เล็กยิ่งทำดีกว่านันท ทำน่าเอ็นดู ใครๆ เห็นเข้าก็งงงวย เพราะเล็กนิดเดียวทำได้ดีมาก…”
เหนืออื่นใด ยังทรงกีฬาอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น สกีน้ำ ว่ายน้ำ เรือกรรเชียง เรือพาย แบดมินตัน ยิงปืน กอล์ฟเล็ก การแข่งขันรถเล็ก เครื่องร่อน ฯลฯ กีฬาที่ทรงโปรดส่วนใหญ่เป็นกีฬาที่ไม่ได้ใช้พระกำลังเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความรู้รอบตัว เทคนิคไหวพริบ และความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เป็นแบบอย่างให้นักกีฬาทุกคนได้เรียนรู้ศาสตร์ของกีฬาแต่ละชนิดอย่างแท้จริง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ทรงสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ เนื่องจากพระองค์ท่านโปรดการช่างอยู่แต่เดิมแล้ว เรือใบของพระองค์จะทรงต่อด้วยพระองค์เอง และจะทรงทดลองแล่นในสระน้ำภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

เรือใบฝีพระหัตถ์ลำแรกที่ทรงต่อด้วยพระองค์เอง เป็นเรือใบพระที่นั่งเอ็นเตอร์ไพรส์ โดยพระราชทานชื่อเรือว่า “ราชปะแตน” และต่อมาทรงต่อเรือใบประเภทโอเค ขึ้นอีก พระราชทานชื่อว่า “นวฤกษ์” ซึ่งเรือนวฤกษ์นี้เอง ทรงนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4

พระองค์ท่านยังทรงคิดค้น ออกแบบ และสร้างเรือใบขึ้นมาด้วยพระองค์เองอีก พระราชทานชื่อว่า “เรือใบแบบมด” ทรงมีรับสั่งว่า “ที่ชื่อมดนั้นเพราะมันกัดเจ็บๆ คันๆ ดี” ต่อมาทรงพัฒนาเรือแบบมดขึ้นมาใหม่โดยได้พระราชทานชื่อว่า เรือใบ “แบบซูเปอร์มดร.96และเรือใบในตระกูลมดนี้ลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบคือเรือใบ “แบบไมโครมด” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักแล่นเรือใบทั้งหลาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงต่อเรือขึ้นมาอีกลำหนึ่งเป็นเรือใบประเภทโอเค พระราชทานชื่อเรือว่า “VEGA” หรือ เวคา (ชื่อดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่สุกสว่างมาก) ทรงใช้เรือลำนี้เสด็จฯ ข้ามอ่าวไทยจากพระราชวังไกลกังวลหัวหิน ไปขึ้นฝั่งที่หาดเตยงามในหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินด้วยลำพังพระองค์เอง เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509

ซึ่งในการต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหางเสือเรือเวคา เพื่อเป็นรางวัลนิรันดรในการแข่งขันเรือใบระยะทางไกลของประเทศไทย นอกจากนี้ยังทรงก่อตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ขึ้น คือ“สโมสรเรือใบจิตรลดา”ทั้งยังมีพระมหากรุณาธิคุณรับสโมสรเรือใบต่างๆ มาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น สโมสรเรือใบราชวรุณ สโมสรเรือใบกรมอู่ทหารเรือ สโมสรเรือใบฐานทัพเรือสัตหีบ สโมสรเรือใบนาวิกโยธิน และสโมสรเรือใบกองเรือยุทธการ เป็นต้น

ด้วยเหตุที่โปรดการต่อเรือใบประเภทต่างๆ ดังกล่าว ม.จ.ภีศเดช รัชนี ได้ทรงเล่าถึงพระราชดำรัสของพระองค์ท่านในหนังสือ อสท. เรื่องทรงเรือใบ ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ไว้ว่า “ปีใหม่คนอื่นๆ เขาไปฉลองกัน เสียเงินมาก แต่เราเสีย 147 บาท เท่านั้น เป็นค่าไม้ยมหอม และค่าเบียร์ฉลองปีใหม่ แต่เรายังสนุกกว่าเขาอีก แล้วเป็นประโยชน์ด้วย”

จากพระราชดำรัสที่กล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าพระองค์ท่านทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในการกีฬาเรือใบนี้อย่างแท้จริง จึงได้ทรงต่อเรือใบด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ซึ่งมีเพียงแต่พระองค์ท่านที่เป็นพระประมุขของชาติไทยพระองค์เดียวในโลกนี้เท่านั้น ที่มีพระปรีชาสามารถในด้านเรือใบ

วันนี้ในอดีต 16 ธันวาคม 2560 หรือเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา พระมหากษัตริย์นักกิฬา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ทรงเข้าร่วมแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบัน คือ กีฬาซีเกมส์) ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 9 ถึง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 โดยทรงลงแข่งขันในกีฬาเรือใบประเภทโอเค ซึ่งเป็นเรือที่ทรงต่อเอง ร่วมกับ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี” พระราชธิดาพระองค์โต ทรงร่วมการแข่งขันในฐานะนักกีฬาทีมชาติไทยคนหนึ่ง ทรงซ้อมและเก็บตัวเหมือนนักกีฬาทั่วไป และทรงชนะเลิศการแข่งขันเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมพ.ศ. 2510ร.9 11

พระองค์ท่านทรงขึ้นรับ “เหรียญทอง” บนแท่นเหมือนนักกีฬาทั่วไป ในพิธีปิด ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็น“วันกีฬาแห่งชาติ”

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.