“คุมสื่อ” ส่อเค้าวุ่น “องค์กรผู้บริโภคฯ” แถลงค้าน-ไม่ร่วมสังฆ์กรรม

0
1398

แม้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เน้นเจตนาคุมสื่อและลิดรอนสิทธิประชาชน แต่สมาชิก สปท.เสียงข้างมากได้รับรองร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ องค์กรผู้บริโภคจึงขอคัดค้านการกระทำของสภาขับเคลื่อนเสียงข้างมาก ที่ไม่รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะในการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงขอเรียกร้องให้ 1.ยกเลิกร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้โดยเร็วที่สุด 2.ร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ยกเว้นการกำกับดูแลจากภาครัฐหรือตัวแทนภาครัฐ 3.ให้ส่งเสริมศักยภาพประชาชนในการเป็นพลเมืองที่รู้เท่าทันสื่อและปกป้องสิทธิเสรีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอประกาศว่าจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมใดๆ กับสภาวิชาชีพสื่อ ตามร่าง พ.ร.บ.นี้ หาก สปท.ยังคงยืนยันเนื้อหาที่นำไปสู่การลิดรอนสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน

“องค์กรผู้บริโภค” ประกอบด้วย คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมออกแถลงการณ์คัดค้านและเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (กมธ.) ด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. … มีเนื้อหาระบุว่า กมธ.ด้านสื่อสารทวลชน สปท.ขาดความจริงใจในการปฏิรูปสื่อ ด้วยการออกร่าง พ.ร.บ.ที่ต้อนสื่อเข้าคอก ให้มีเจ้าหน้าที่กำกับ และไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน แม้ สปท.ยอมถอนการทำบัตรสื่อมวลชนและบทลงโทษในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนฯ เมื่อสื่อและสังคมกดดัน แต่ยังคงยืนยันตำแหน่งปลัดกระทรวงอยู่ถึง 2 ที่นั่ง และยังคงโทษปรับอยู่ ซึ่งแสดงเจตนาชัดเจนว่า สปท. มิได้มีเจตนาและความจริงใจที่จะส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสื่อ ตลอดจนการคุ้มครองสื่อมวลชนและส่งเสริมมาตราฐานวิชาชีพ ในทางตรงกันข้าม ยังมีเจตนาในการคุกคามสื่อ การลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อนั้น คือการลิดรอนสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งสิทธิเสรีภาพทั้ง 2 ประการนี้ ถือเป็นหลักการใหญ่ที่ต้องคงรักษาไว้ในสังคมประชาธิปไตย

ในรายงานเรื่อง “การปฏิรูปการสื่อมวลชน” ที่ กมธ.เสนอเข้า สปท.เพื่อประกอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนฯ นั้น มุ่งเน้นแต่กลไกการกำกับดูแลสภาวิชาชีพสื่อ ในต่างประเทศ โดยละเลยปัจจัยที่สำคัญที่สุด ว่าการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่เกิดขึ้นในต่างประเทศนั้น คือความเข้มแข็งของภาคประชาชนที่มีส่วนได้เสียโดยตรงจากผลกระทบของสื่อในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วทั่วโลกได้พิสูจน์ว่าการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับกลุ่มประชาชนเท่านั้นที่จะสามารถบรรลุเจตนา “คุ้มครองเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน” โดยมีภาครัฐสนับสนุน และเอื้ออำนวยกลไกต่างๆ เพื่อกำกับวิชาชีพนี้ให้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง ปราศจากการครอบงำโดยรัฐ การเมือง และกลุ่มทุน และสร้างกลไกที่เอื้ออำนวยกับการสร้างศักยภาพให้กับประชาชนทั่วประเทศในการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสามารถกำกับดูแล และปกป้องสิทธิเสรีภาพสื่อเช่นกัน

728x90

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.